LifestyleWritings

Where we belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า

เรื่อง: พิชญา ใจสุยะ 

where we belong

ภาพยนตร์ เรื่อง Where we belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า เข้าฉายเมื่อปีพ.ศ.2562 นำแสดงโดย เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ (เจนนิษฐ์) และแพรวา สุธรรมพงษ์ (มิวสิค) ไอดอลวง BNK48 ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องล่าสุดของผู้กำกับ คงเดช จาตุรันต์รัศมี ที่เคยกำกับภาพยนตร์เรื่อง ตั้งวง (พ.ศ.2556) และ Snap (พ.ศ.2558) ซึ่งส่วนใหญ่แฝง ‘การเมือง’ ในภาพยนตร์อย่างกลมกล่อม เป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อเรื่อง

ส่วนภาพยนตร์ เรื่อง Where we belong เกี่ยวกับเรื่องราวของ ‘ซู’ ที่ตัดสินใจไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศฟินแลนด์ สถานที่ที่เธอไม่รู้จักมาก่อน เพื่อหนีไปจากอ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี และ ‘เบลล์’ เพื่อนสาวคนสนิทที่คอยช่วยเหลือเรื่องต่างๆ ก่อนซูจะจากไป ทั้งการช่วยจัดกระเป๋า รวมวงดนตรีเพื่อแสดงให้ซูดูเป็นครั้งสุดท้าย และการช่วยซูคืนดีกับเพื่อนสนิท

ทั้งตัวอย่างและโปสเตอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอความสัมพันธ์ที่ก้ำกึ่งระหว่างเพื่อนหรือคนรักของซูและเบลล์ ชวนให้อาจเข้าใจผิดว่านี่เป็นภาพยนตร์รักโรแมนติก หรือเรื่องราวที่ว่าด้วยการค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศของตัวละคร แต่จริงๆ แล้วภาพยนตร์เรื่องนี้กลับเน้นความหม่นมัว สับสนในการตามหาตัวเองของวัยรุ่นที่ไม่อยากเติบโตไปเหมือนผู้ใหญ่แบบที่ตัวเองเกลียด และสอดแทรก เสียดสีประเด็นทางสังคม การเมือง ศาสนาและความเชื่อลงไปด้วย

ภาพยนตร์นำเสนอการตัดสินใจเลือกทางเดินครั้งแรกในชีวิตวัยรุ่น ผ่านช่วงก่อนเข้ามหาวิทยาลัยที่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวัยรุ่นหลายๆ คน บางคนเลือกคณะที่ตัวเองไม่ได้ชอบแต่คะแนนถึง เพื่อเป็นหลักประกันว่ามีอนาคตแล้ว และทำให้พ่อแม่สมหวัง บางคนออกจากระบบการศึกษาไปทำงานหาเงิน หรือบางคนก็รอเสี่ยงยื่นคะแนนสอบเข้าในรอบถัดไป ซูเลือกที่จะไปต่างประเทศโดยไม่ฟังคำคัดค้านจากพ่อที่ต้องการให้เรียนใกล้บ้าน เพื่อในอนาคตซูจะได้สืบทอดร้านก๋วยเตี๋ยวที่เป็นของดีประจำจังหวัด

ส่วนเบลล์ตรงข้ามกับซูอย่างสิ้นเชิงคือเธอเต็มใจจะอยู่สถานที่เธอเรียกว่า ‘บ้าน’ ได้อย่างเต็มปาก หรือก็คือ จ.จันทบุรีที่ซูอยากจะหนีไป เบลล์ต้องการดูแลย่าของเธอที่ชราภาพ และบางครั้งย่าจะหวนรำลึกถึงความทรงจำเก่าๆ สมัยตัวเองยังสาว เพราะเบลล์ไม่ต้องการเป็นเหมือนแม่ของเธอที่จากไปเพราะต้องการความสะดวกสบายในเมืองใหญ่มากกว่าชนบท

สิ่งยึดเหนี่ยวทั้งหลายของซูเริ่มสั่นคลอน ทั้งครอบครัว เพื่อน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภาพของคนไหว้ขอพร ถวายพวงมาลัยพร้อมจุดธูปเทียนบูชารูปปั้นพระเยซู และการปรึกษาปัญหาผ่านร่างทรง สะท้อนความเชื่อที่ฝังรากลึกมาอย่างยาวนานของสังคมไทย เมื่อเผชิญปัญหาที่ยากจะหาทางแก้ก็เลือกที่จะกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วงแรกซูเหมือนจะมีทีท่าไม่เชื่อแต่ก็ไม่ลบหลู่ความเชื่อนั้น แต่เวลาผ่านไปซูที่ลังเลในการเลือกของตัวเองก็หันไปหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจโดยการไหว้รูปปั้นพระเยซู เมื่อทั้งครอบครัว และเพื่อนไม่สามารถเป็นที่ยึดให้เธอได้อีกต่อไปแล้ว

ส่วนการเมืองที่เหมือนจะเบาบางในภาพยนตร์ แต่ก็มีการกล่าวถึงตรงๆ ในบางฉาก และสอดแทรกอยู่ในบทสนทนาของตัวละคร ช่วงที่เริ่มถ่ายทำภาพยนตร์เป็นช่วงพ.ศ.2561 ที่การเมืองที่หยุดนิ่งเป็นเวลากว่า 5 ปีที่คสช.ยึดอำนาจ  ทำให้วัยรุ่นที่เพิ่ง 18 ปียังไม่เคยเลือกตั้ง รวมถึงซูและเบลล์ด้วย ในภาพยนตร์จึงมีบทสนทนาเกี่ยวกับการที่ซูไม่เคยเลือกตั้งทั้งที่อายุ 18 ปีแล้ว

ระหว่างการตัดสินใจของซูนั้น ภาพยนตร์ก็ได้ชวนให้ผู้ชมตั้งคำถามผ่านประโยคจากหนังสือเรื่องอาณานิคมในลมหายใจที่เบลล์อ่านว่า

‘คุณไม่ใช่เจ้าของชีวิตของคุณหรอก ไม่ใช่ แม้แต่ลมหายใจของคุณเอง’

หากซูเป็นตัวแทนของการดิ้นรนสู่อิสรภาพ เบลล์ก็คงจะเป็นตัวแทนของการยึดโยงอยู่กับสถานที่หนึ่งที่เธอให้ความหมายว่าบ้าน

แต่จริงๆ แล้วชีวิตเป็นของเราจริงหรือ ทางเลือกที่ซูเลือกนั้นเป็นเพราะตัวซูเองจริงหรือไม่ การตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ไปเรียนต่างประเทศของซูเริ่มถูกตีกรอบจากคนรอบข้างทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยคำพูดของเพื่อน พ่อ ภาระร้านก๋วยเตี๋ยวที่ต้องตกไปที่น้องชาย ร่างทรง และอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่โถมเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อนให้ได้พักหายใจ

เรื่องราวไม่หนักไม่เบาแต่ก็ชวนให้ขบคิดในประเด็นต่างๆ ที่ผู้กำกับทิ้งไว้ให้ผู้ชมตีความ เรื่องราวจะค่อนข้างเข้มข้นในช่วงท้าย จึงอาจทำให้เข้าใจยากในบางช่วง ความเรียบเรื่อยของภาพยนตร์อาจทำให้รู้สึกเบื่อ แต่ก็ช่วยให้รู้สึกไปกับตัวละครได้ดี

หวังว่าซู เบลล์ และวัยรุ่นอีกหลายๆ คนจะหาที่ที่เหมาะกับตัวเองเจอ และได้ใช้ชีวิตอยู่โดยรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่นั่นจริงๆ

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

1 Comment

  1. Your article gave me a lot of inspiration, I hope you can explain your point of view in more detail, because I have some doubts, thank you.

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

More in:Lifestyle

Writings

ร้านกาแฟในบทบาทผู้ส่งเสริมการท่องเที่ยว

เรื่อง : มานิตา คิดนุนาม ภาพ : มานิตา คิดนุนาม ในปัจจุบัน การไปเที่ยวสำหรับคนบางกลุ่มไม่ใช่การไปยังสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ไปสวนสนุก หรือไปชื่นชมธรรมชาติเพียงเท่านั้น เพราะตั้งแต่มีวัฒนธรรมการนำ “ร้านกาแฟ” มาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ...

Lifestyle

จะตายตอนไหน ยังไง เมื่อไหร่ ไม่มีใครทราบ งั้นเรามาเตรียมตัวก่อนจะถึงเวลานั้นดีไหม

เรื่อง: พรรณรมณ ศรีแก้ว ภาพ: ปาณัสม์ จันทร์กลาง ถ้าพูดถึงคนที่ตายโดยธรรมชาติ ภาพที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คงเป็นภาพคนวัยชราที่นอนหลับไป ไม่ใช่ภาพของวัยรุ่นหรือเด็กๆ และสมมติถ้าเราตายในวัยยี่สิบ ก็คงหนีไม่พ้นวลี ‘จากไปก่อนเวลาอันควร’ นั่นชวนตั้งข้อสงสัยว่าคนเรามีช่วงอายุที่เหมาะสมแก่การตายด้วยหรือ แล้วอายุเท่าไหร่ถึงจะเหมาะ เพราะเราไม่รู้เคยว่าจะตายตอนไหน ...

Writings

Art Therapy: อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการระบายความรู้สึกผ่านงานศิลปะ

เรื่องและภาพ: ฌัชฌา สรนันท์ เมื่อเติบโตขึ้น ความเครียด ความกดดัน และภาระที่ต้องแบกรับก็มากขึ้นตามวัย ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคนที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกหม่นเศร้า และความอึดอัดที่อยู่ส่วนลึกของจิตใจ หนำซ้ำการพูดคุยกับใครสักคนก็อาจเป็นเรื่องยาก เพราะคนรับฟังอาจไม่เข้าใจความรู้สึกของเราได้ทั้งหมด หรือจะเป็นการถูกตัดสินจากคนภายนอก  และทำให้โดนปฏิบัติในทางที่ไม่เหมือนเดิม ศิลปะบำบัด หรือ Art Therapy จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้นภายในจิตใจได้ ศิลปะบำบัด ...

Writings

สำรวจรูปแบบความสัมพันธ์และพื้นที่ปลอดภัยในธรรมศาสตร์และการดีล

TW : Sexual Harassment คุกคามทางเพศ เรื่องและภาพ : ปาณิสรา ช้างพลาย ‘นัดดีล’ คือการหาความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัดต่างๆ ชวนคนมาทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน โดยอาจจะมีเรื่องเพศหรือไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้  ‘ธรรมศาสตร์และการดีล’ คือกลุ่มไลน์ OpenChat ที่มีสมาชิกอยู่สูงสุดถึง 5,000 คน และมีจุดประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ในการนัดดีล ซึ่งมีทั้งคนที่เข้ามาเพื่อมองหาความสัมพันธ์ที่ตอบโจทย์กับตนเอง คนที่เข้ามาอ่านเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว ...

Lifestyle

Office Syndrome: ผลเสียจากการเรียนออนไลน์ที่ยังแก้ไม่หาย พร้อม 5 วิธีคลายเมื่อยสำหรับชาวมธ.

เรื่อง : ฌัชฌา สรนันท์ ภาพ : ปาณิสรา ช้างพลาย โรงอาหารที่มีคนต่อแถวเรียงราย หอสมุดที่เต็มไปด้วยนักศึกษามานั่งติวหนังสือ และบรรยากาศในห้องเรียนที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทุกอย่างกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว หลังจากเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนมหาวิทยาลัยต้องประกาศให้นักศึกษาและอาจารย์ทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์อยู่ที่บ้านนานถึง 2 ปี  เชื่อว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาเองต่างก็ได้รับผลกระทบจากการเพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไอแพด หรือสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานาน ...

Lifestyle

เบื้องหลังความเชื่อ และคำทำนาย: บันทึกลับฉบับ เด็ก Gen Z

เรื่องและภาพประกอบ : ปาณิสรา ช้างพลาย Varasarnpress ชวนคุณมาเปิดบันทึกลับ ฉบับ Gen Z ถึงมุมมองที่มีต่อการ “ดูดวง” ว่าเบื้องหลังความเชื่อ และคำทำนายต่าง ๆ นั้น อะไรคือสิ่งที่ทำให้การดูดวงเป็นที่นิยมในหมู่ Gen Z ตั้งแต่วัยมัธยม ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save