Ready-to-readWritings

วันสงกรานต์ที่ไม่ได้กลับบ้าน

เรื่อง ปาณัสม์ จันทร์กลาง

ภาพ เก็จมณี ทุมมา

ในคืนของวันที่ 10 เมษายน ผมกลับห้องมาด้วยความเหนื่อยล้าสะสม ตลอดทั้ง 3 วันที่ต้องเป็นสตาฟฟ์จัดงานกีฬาของมหาวิทยาลัย แม้งานจะจบไปได้ด้วยดีทำเอาชื่นใจ แต่ก็ไม่สามารถชดเชยความอยากนอนของผมได้

กว่าจะเก็บของ เคลียร์งานหลังบ้าน อาบน้ำล้างตัวเสร็จ เวลาก็ปาไปตี 3 ของอีกวัน น้ำจากฝักบัวเย็นๆ ไม่ช่วยให้ผมรู้สึกกระปรี้กระเปร่าแม้แต่นิดเดียว

ในใจขอแค่หมอน จะให้นอนหน้าห้องน้ำก็ยังได้

อีกไม่กี่ชั่วโมงพระอาทิตย์ก็จะขึ้น เช้าแรกของหยุดยาวสงกรานต์ของใครหลายคนกำลังจะมาถึง แต่ผม เพิ่งจะได้เริ่มค่ำคืนแห่งห้วงนิทรา

‘เจอกันตอนบ่ายนะจ๊ะ’ ผมพูดปนสะใจกับตัวเองก่อนนอน เพราะความสุขของผมกำลังจะเริ่มต้น

แต่แล้วความสุขก็อยู่ได้ไม่นาน ผมถูกปลุกขึ้นมาจากที่นอนตอน 9 โมงเช้าด้วยเพลงจังหวะสามช่า แม้งัวเงียตาจะปิดแต่ก็หลับไม่ลง ถึงห้องของผมจะมืดสนิทเพราะปิดผ้าม่านไว้ แต่ก็ใช่ผ้าม่านจะกันเสียงได้เสียเมื่อไร

ผมรู้สึกหงุดหงิดที่นอนไม่พอ แต่ก็จำนนต่อเพลงสามช่า ยอมเปิดผ้าม่านรับวิตามินดียามเช้าเพื่อหาต้นตอของเสียง และพบว่าเสียงมาจากแคมป์คนงานก่อสร้างข้างๆ นี้เอง

แม้ไม่ได้อยู่ติดกันขนาดนั้นเพราะมีอีกหอคั่นระหว่างกลางอยู่ ทว่าเสียงจ้อกแจ้กเจี๊ยวจ๊าวก็ดังพอทำให้ผมรู้ว่ามีหลายสิบคนกำลังฉลองอยู่ ณ ตรงนั้น

ผมเดินลงจากหอไปหาอะไรกิน เหตุผลจริงๆ คืออยากหนีเสียงเพลงที่ดังปวดหู ทว่าบรรยากาศกลับเงียบเหงาว่างเปล่าตรงกันข้ามกับแคมป์คนงานเมื่อกี้ ร้านอาหารทุกร้านปิดกันหมดเพราะหยุดสงกรานต์

ผมยิ่งรู้สึกหงุดหงิดเข้าไปใหญ่ เพราะกว่าจะเจอร้านที่ฝากท้องได้ก็ต้องเดินมาไกลพอสมควร

หลังจากนั้นผมก็เดินกลับ ฝ่าแดดร้อนๆ กลางเดือนเมษาฯ กว่าจะถึงห้องเล่นเอาเหงื่อโชก การอาบน้ำอีกสักรอบเป็นความคิดที่ดี ถ้าไม่ติดว่าน้ำร้อนเพราะเป็นเวลาเที่ยงวัน สู้นั่งผึ่งพัดลมเฉยๆ ยังจะเย็นเสียกว่า

ผมมองไปที่ระเบียง ข้างนอกไม่ได้มีแค่แดดที่ร้อนแรง เสียงเพลงจากแคมป์คนงานข้างๆ ก็เช่นกัน

‘เปิดเพลงดังขนาดนี้ คนอยู่หอข้างๆ หูไม่แตกแล้วเหรอน่ะ’ ผมถามในใจ

‘จะมีคนอยู่ได้ไง สงกรานต์เค้ากลับบ้านกันหมดแล้ว’ ผมตอบตัวเองทันควัน

‘แล้วคนงานเค้าไม่กลับบ้านกันเหรอวะ’ ผมถามสวนกลับไป

‘…เออว่ะ ทำไมวะ’ ผมตอบกลับด้วยคำถาม

ระหว่างคิดคำตอบหาเหตุผล โทรศัพท์ผมก็ดังขึ้น เป็นแม่ของผมที่โทรมาหา ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบทั่วไปตามประสาคนเป็นแม่ กับเพราะผมที่เป็นเด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนในเมืองด้วย ก่อนจะถามว่า

สงกรานต์นี้ไม่ได้กลับบ้านเหรอลูก’

ผมนิ่งไปชั่วขณะ

‘…เออว่ะ เราก็ไม่ได้กลับบ้านนี่หว่า’ คำนี้ผุดขึ้นมาในหัว เลยทำให้ผมตัดสินใจใช้เวลาคุยกับท่านพอสมควร เพราะต้องการจะชดเชยส่วนที่ไม่ได้กลับบ้านในช่วงสงกรานต์นี้ซึ่งเป็นวันครอบครัว

ปีนี้ผมมีภาระหน้าที่ที่ต้องจัดการ มันยุ่งเสียจนทำให้ผมลืมเรื่องกลับบ้านไปเลย ปกติแล้วช่วงสงกรานต์ผมจะกลับบ้านทุกปี เพื่อไปเจอกับญาติผู้ใหญ่ รดน้ำดำหัว กินข้าว เล่นน้ำสงกรานต์ด้วยกัน แต่พอปีนี้ไม่ได้กลับไป ทำเอาผมรู้สึกกังวล จะให้จองตั๋วกลับบ้านตอนนี้ก็คงไม่ทัน ทำได้แค่คุยกับที่บ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ

ในระหว่างที่ผมคิดกังวล เสียงเพลงสามช่าและเสียงเฮฮาจากแคมป์ก่อสร้างก็ยังไม่เงียบลง เสียงจากหลายสิบชีวิตยังคงสนุกสนาน ผู้คนในแคมป์คนงานคงไม่ได้กลับบ้านไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด

วันหยุดยาวนี้ไม่ว่าใครก็อยากหยุดพักผ่อน แต่ว่าการพักผ่อนของใครหลายคนคงไม่เหมือนกัน บางคนอยากกลับบ้านไปเจอครอบครัว บางคนอยากไปเที่ยวไกลๆ บางคนอยากสังสรรค์กับเพื่อนๆ หรือบางคนแค่อยากนอนอยู่ในห้องเฉยๆ ก็พอ

ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ล้วนเป็นการพักเติมพลังกาย พลังใจ เพื่อเตรียมตัวสู้ต่อในเร็วๆ นี้

และแล้วความหงุดหงิดที่มีต่อเพลงและเสียงเจี๊ยวจ๊าวของผมก็เปลี่ยนไป เป็นความเข้าใจว่าพวกเขาก็อยากมีช่วงเวลาหนึ่งที่ต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ คนทำงานก่อสร้างส่วนใหญ่แล้วเป็นงานหาเช้ากินค่ำ อาจเป็นคนต่างจังหวัดเหมือนกับผม หรือไม่ก็เป็นแรงงานข้ามชาติ

ค่าแรงที่พวกเขาได้อาจไม่เพียงพอต่อการเดินทางกลับบ้าน ยิ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ กว่าจะถึงบ้านคงหมดสงกรานต์พอดี

การสังสรรค์เฮฮากับเพื่อนร่วมงานอาจเป็นหนึ่งในไม่กี่ทางเลือกของพวกเขา

เพลงสามช่ายังคงเปิดทุกเช้าและยังคงครึกครื้นตลอดทั้ง 5 วัน ซึ่งตัวผมเองก็นอนเล่นเกม อ่านหนังสืออยู่ในห้องไปพร้อมกับจังหวะเพลงเหล่านั้น

จนในวันที่ 6 เสียงเพลงจากแคมป์คนงานก็เงียบไป กลายเป็นเสียงเครื่องยนต์รถบรรทุกและเครื่องมือก่อสร้าง เป็นสัญญาณบอกว่าวันหยุดใกล้จะหมดลงแล้ว

แม้บางคนจะไม่ได้กลับบ้านในหยุดวันสงกรานต์ แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับวันต่อๆ ไป

ที่กำลังจะมาถึง…

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
1
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

Ready-to-read

ศาสนา ป้ายหาเสียง การเลือกตั้ง

เขียนโดย จิรัชญา นุชมี ภาพโดย จิรัชญา นุชมี ใกล้เข้ามามากแล้วสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2566 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ จึงเป็นเรื่องปกติที่เราจะได้เห็นป้ายหาเสียงติดตามเสาไฟ กำแพง ตามท้องถนน โดยแต่ละพรรคการเมืองก็เลือกใช้สีที่โดดเด่นและเขียนชูนโยบายของพรรคอย่างชัดเจน ...

Writings

สิ่งที่ “เห็น” ในข่าว อาจไม่ใช่สิ่งที่ “เป็น”

เรื่อง รุจน์ โกมลบุตร ภาพ เก็จมณี ทุมมา เมื่อผู้บริโภคเปิดรับข่าว ย่อมเป็นธรรมดาที่เราจะคาดหวังจะได้รับข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบแล้ว มีการนำเสนอเนื้อหาอย่างรอบด้าน ชัดเจน และสามารถนำพาสังคมไปสู่ทางเลือกที่ดีกว่าได้ ทว่าในสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อาจสังเกตเห็นได้ว่าเรากำลังได้รับข่าวที่เจือปนไปด้วยข้อมูลเท็จ ปราศจากการตรวจสอบ เป็นข้อมูลด้านเดียว ...

Writings

มนต์รักทรานซิสเตอร์: การเกณฑ์ทหารที่ทำให้ชีวิตต้อง “ผิดแผน”

เรื่อง พัณณิตา ดอนเลย ภาพ เก็จมณี ทุมมา ภาพยนตร์คือเครื่องบันทึกร่องรอยของสภาพสังคมที่เรื่องราวนั้นถูกสร้างขึ้น ภาพยนตร์หลายเรื่องจึงทำให้คนหวนคิดถึงวันวาน หลายเรื่องสะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน และหลายเรื่องก็ชวนฝันถึงอนาคต แต่จะมีภาพยนตร์สักกี่มากน้อยที่สามารถตีแผ่สังคมได้ตั้งแต่วันที่เข้าฉาย แล้วยังลอยละล่องเหนือกาลเวลา ทำหน้าที่สะท้อนสังคมซึ่งให้หลังไปอีกกว่า 20 ปี ...

Writings

‘เวลา’ เรื่องราวของความรัก ใต้เวรกรรมทางการเมือง

เรื่อง สมิตา พงษ์ไพบูลย์ ภาพ เก็จมณี ทุมมา ภาพยนตร์เป็นสื่อที่บันดาลใจใครหลายคน หากเปรียบสื่อนี้เป็นอาหาร การได้เดินผ่านโรงภาพยนตร์ ก็นับเป็นหนึ่งรสชาติที่ทำให้ก้อนเนื้อในอกเริ่มเคลื่อนไหวด้วยจังหวะที่รวดเร็วขึ้น แต่ความรู้สึกสงบหลังภาพสีฉูดฉาดของหนังจบลง แล้วทาบทับด้วยผืนภาพสีดำเข้มใต้ตัวอักษรที่บอกเล่าชื่อของผู้มีส่วนร่วมในการสร้าง นี่สิที่ยิ่งกว่า…นี่เป็นช่วงเวลาได้ตกผลึก และไตร่ตรองถึงเนื้อเรื่องที่ถูกขมวดเล่าผ่านกรรมวิธีที่งดงาม ได้นั่งคิดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ...

Writings

สังคมที่บีบให้ดอกหญ้าต้องโตในป่าปูน

เรื่อง พัณณิตา ดอนเลย ภาพ เก็จมณี ทุมมา เพลงคือผลผลิตจากคนที่เติบโตขึ้นในสังคม เพลงจึงถ่ายทอดความสุข ความทุกข์ และชีวิตของคน กระทั่งสะท้อนถึงสภาพสังคมที่คนต้องเจอ โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่งซึ่งมีความโดดเด่นในการเล่าถึงชีวิตของคนต่างจังหวัดที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เช่นเดียวกับเพลง “ดอกหญ้าในป่าปูน” เพลงดอกหญ้าในป่าปูนเป็นเรื่องราวของผู้หญิงต่างจังหวัดที่ต้องไปทำงานในกรุงเทพฯ ...

Writings

สิ่งที่ นักเรียนสื่อ – คนสอนสื่อ – คนทำสื่อ ควรหาทำ

เรื่อง : รุจน์ โกมลบุตร ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา ก่อนจะเปิดเทอมใหม่ ก็มีวาระที่ผมและเพื่อนๆ ที่ทำงานสอนในโรงเรียนสอนคนทำสื่อจะมานั่งสุมหัวกันเพื่อทบทวนการทำงานที่ผ่านมา และหาแนวทางปรับปรุงการทำงานของพวกเราให้ดีขึ้น รัดกุมขึ้น มีทิศทางที่แม่นยำขึ้น เช่นเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save