SocialWritings

พลังของคำพูด

เรื่อง: ชนิสรา หน่ายมี

ภาพ: จุฑารัตน์ พรมมา

คุณรู้หรือไม่ว่าคำพูดที่คุณเปล่งออกมาเพียงไม่กี่คำอาจสร้างเป้าหมายหรืออาจทำลายชีวิตของใครบางคนก็ได้

เราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาบนโลกใบนี้ คงไม่มีใครหรอกที่พบเจอแต่คนที่คิดดี หวังดี พูดดีกับคุณทุกคน หลายคนอาจจะเคยโดนคำพูดที่ทำร้ายจิตใจหรือดับฝัน จากคำพูดของใครบางคนที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่าการบูลลี่ ในสังคมปัจจุบันจะเห็นได้ว่า มีการบูลลี่กันหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง รูปร่างหน้าตา สีผิว รสนิยม เชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยม อายุ ทัศนคติหรือสถานะทางสังคม นอกจากนี้ทางกรมสุขภาพจิตได้จัดให้การกลั่นแกล้งทางวาจาเป็นหนึ่งในการบูลลี่ เช่น การพูดจาเหยียดหยาม การดูหมิ่น การด่าทอ การดูถูก การนินทา การโกหกจนทำให้รู้สึกเจ็บปวด เช่นทำไมเธออ้วนขึ้น ทำไมดำจัง อย่าฝันสูงไปหน่อยเลย เธอทำมันไม่ได้หรอก หรือพิการแบบนี้ โตขึ้นคงทำได้แค่อาชีพขอทาน บางครั้งคนที่พูดอาจจะมองเป็นเรื่องล้อเล่น ไม่คิดจริงจังอะไร โดยอาจจะไม่ยั้งคิดว่า คำพูดที่เขาเปล่งออกมานั้นทำร้ายหัวใจของคนฟังมากมายขนาดไหน หลายคนอาจจะคิดว่าแค่คำพูดของคนอื่นไม่เห็นจะต้องเก็บมาใส่ใจ แค่ปล่อยผ่านไปคำพูดเหล่านั้นก็ทำร้ายเราไม่ได้แล้ว  จนอาจจะหลงลืมไปว่า ความเข้มแข็งภายในจิตใจของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน คำพูดหรือประโยคที่หลายคนอาจจะมองว่าไม่รุนแรง แค่เป็นเรื่องล้อเล่น อาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครบางคนก็เป็นได้

‘คำพูด’ เปรียบเสมือนดาบสองคม

เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘คำพูด’ มีอิทธิพลมากมายในสังคมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพราะคำพูดหรือประโยคเพียงไม่กี่ประโยคอาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของใครบางคนไปตลอดชีวิตเลยก็ได้  

‘คำพูดเปรียบเสมือนดาบสองคม’ คือสุภาษิตไทยที่เตือนใจคนที่ยังใช้ได้เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน คำพูดที่ดีสามารถเป็นพลังให้คนกลับมาต่อสู้กับปัญหาอีกครั้ง ในทางกลับกัน คำพูดที่ไม่ดีก็เหมือนกับดาบที่คอยทิ่มแทงเข้าไปในจิตใจของผู้อื่น ทำให้เจ็บช้ำแม้ไม่มีเลือดไหลออกมาแม้แต่หยดเดียว แต่อาจทำลายชีวิตคนทั้งชีวิตเลยก็ได้

พื้นฐานความเข้มแข็งภายในจิตใจและการจัดการกับความรู้สึกของมนุษย์แต่ละคนมีไม่เท่ากัน บางคนเจอคำพูดที่ทำร้ายจิตใจ อาจจะเกิดแค่อารมณ์เศร้าเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ จากนั้นจะจางหายไปและกลับมาเป็นคนร่าเริง สดใส และไม่สนใจคำพูดที่บั่นทอนจิตใจ แต่บางคนอาจจะเกิดภาวะหมดไฟ หรือที่เรียกว่า burnout ไม่อยากเรียน ไม่อยากทำงาน หมดแพชชั่นที่จะทำตามความฝัน ทำให้อาจจะเลิกทำตามความฝันไปเลย หรือบางคนอาจร้ายแรงถึงขั้นเกิดความเครียด วิตกกังวลเป็นเวลานาน จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว  นางสาวศิรินทิพย์ ผอมน้อย นักจิตวิทยาคลินิกโรงพยาบาลพังงา กล่าวว่าผู้เป็นโรคซึมเศร้าต้องมี 7 อาการ ดังต่อไปนี้ 1. มีปัญหาเรื่องของการนอนหลับ อาจจะหลับยาก หรือ อาจจะมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ  2. การรับประทานอาหาร  ซึ่งอาจจะรับประทานมากน้อย ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล 3. รู้สึกเบื่อหน่าย 4. ท้อแท้  5.หงุดหงิดง่าย  6.รู้สึกตัวเองไร้ค่า 7. คิดฆ่าตัวตาย โดยต้องมีอาการทุกวัน อย่างน้อยสองสัปดาห์ขึ้นไป รวมไปถึงอาจจะทำให้ไม่กล้าพูดคุยกับคนอื่นหรือหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม จนกลายเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมทั้งนี้ ในข้อมูลจากเว็บไซต์ Rama channel  ศาสตราจารย์ นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า โรคกลัวการเข้าสังคม หรือ Social anxiety disorder หมายถึงการที่ผู้ป่วยมีอาการประหม่า รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่อาจมีผู้อื่นสังเกตจ้องมองตนเอง เช่น การพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ หรือนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 

อย่าให้คนอื่นมาพิพากษาตัวเรา

หากเรานำคำพูดดูถูก ดูหมิ่น ล้อเลียน หรือดับความฝันมาเป็นเป้าหมายที่นำทางไปสู่การประสบความสำเร็จในชีวิต ใช้คำดูถูกเป็นแรงขับเคลื่อนไปในทางที่ดี เก็บคำพูดหรือประโยคเหล่านั้นเป็นเครื่องเตือนใจ หากเกิดความท้อแท้ เหนื่อย หรือหมดกำลังใจ ไม่มีใครมาตัดสินตัวเราได้นอกเสียจากตัวของเราเอง อยู่ที่ว่าเราจะสู้และพยายามแค่ไหนต่างหาก ดั่งเช่นประโยคในหนังสือ “กรูได้ดีเพราะเมริงดูถูก” ของ Mr. Lookdown ที่ได้รวบรวมเรื่องจริงของคนที่เคยโดนดูถูกแต่พวกเขานำคำดูถูกมาเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิต หนึ่งในข้อความที่น่าสนใจคือข้อความของคุณ Gevalin Dahlia Bradbury ที่ระบุว่า “ฉันจะเก็บเอาทุกคำพูดมาเป็น ‘แรงใจ’ ฉันจะเก็บทุกท่วงท่า ที่หยามเหยียดมาเป็น ‘พลัง’ ในทุกก้าวเดิน ฉันจะเก็บเอาสายตาดูแคลน พวกนั้นมา ‘ผลักดันฉันเมื่อท้อ และริมฝีปากแสยะน่าขบขันเหล่านั้นจะดันฉันให้ ‘กล้าก้าว’ อย่างที่พวกเขาไม่เคยคิดแม้แต่จะทำ ฉันนี่แหละจะสู้ให้เห็นว่า สิ่งที่ฉันเป็น ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาคิด”

แม้แต่พิธีกรแถวหน้าของโลกอย่างโอปราห์ วินฟรีย์ ที่เคยถูกไล่ออกจากงานผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์ ก็เคยโดนดูถูกว่าเธอไม่เหมาะกับรายการทีวี แต่เธอไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจ และทำงานในวงการบันเทิงเรื่อยมา จนได้เป็นผู้ประกาศข่าวผิวดำที่ประสบความสำเร็จ และอายุน้อยที่สุดของอเมริกา 

เรื่องราวที่กล่าวมานั้นสะท้อนให้เห็นว่า หากเรานำ “คำพูด” ในแง่ลบของคนที่ดูถูกเหยียดหยาม ล้อเลียน มาใช้ในการตั้งเป้าหมาย คุณก็จะสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ดังเช่นเธอคนนี้

ถึงแม้ทุกวันนี้คนในสังคมจะตระหนักถึงเรื่องการบูลลี่มากขึ้น แต่คงไม่มีทางหายไปจากสังคมอย่างเร็ววัน ผู้เขียนจึงอยากชี้ให้เห็นถึงอานุภาพร้ายแรงของ “คำพูด” ว่ามีพลังกว่าที่ใครหลายคนคาดคิด หากคุณพบกับพลังในด้านลบ ขอให้คุณมีจิตใจที่เข้มแข็งและพยายามเปลี่ยนพลังลบให้เป็นพลังบวกให้ได้

และอย่าทำร้ายใครด้วยคำพูดโดยไม่คิด เพราะคำพูดของคุณอาจสร้างบาดแผลในใจให้ใครบางคนไปตลอดชีวิตเลยก็ได้


อ้างอิง

https://www.amnesty.or.th/latest/blog/733/

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article

ข้อมูลสัมภาษณ์จาก นางสาว ศิรินทิพย์ ผอมน้อย นักจิตวิทยาคลินิก

หนังสือกรูได้ดีเพราะเมริงดูถูก

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
8
Love รักเลย
2
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Social

Writings

สำรวจความสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงค่านิยมแบบไท๊ย ไทย ที่ทำให้วัตถุสนองความอยากทางเพศ ถูกปฏิเสธการมีอยู่

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: นภัสสร ยอดแก้ว จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมาสักระยะ ผู้เขียนพบสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ ‘การเปิดเผยเรื่องทางเพศอย่างตรงไปตรงมา’ จากเดิมที่แค่พูดแตะๆ เรื่องใต้สะดือก็มีสิทธิ์โดนแบนได้ง่ายๆ ตอนนี้กลับสามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ประสบการณ์เซ็กซ์ การบอกเทคนิคลีลาเด็ดมัดใจคู่นอนในโลกโซเชียล ...

Writings

เพราะธรรมศาสตร์ (แฟร์) สอนให้ฉันรักสัตว์?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ สิทธิเดช สายพัทลุง หลายคนคงทราบกันว่าช่วงวันที่ 18 ...

Writings

“ไม่มีใครเก่งเท่าเธอแล้ว” ว่าด้วยนิยามผู้หญิงเก่งในสายตาของแต่ละคน Part 1

เรื่องและภาพ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ, ปิยะพร สาวิสิทธิ์, สิทธิเดช สายพัทลุง และ อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์  วลี ‘ไม่มีใครเก่งเท่าแม่มึงแล้ว’ ชวนให้กองบรรณาธิการของเราตั้งคำถามว่า เราสามารถนิยาม ...

Writings

“รถ Feeder” เส้นเลือดฝอยที่สำคัญต่อคนเมืองไม่แพ้เส้นเลือดใหญ่

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ถ้าหากคุณเคยมากรุงเทพฯ โดยเฉพาะในย่านชุมชนที่พักอาศัย เชื่อว่าคุณอาจเคยเห็นรถสองแถวหรือรถเมล์คันเล็ก วิ่งอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้บ้าง แม้จะดูไม่โดดเด่นเท่ารถเมล์คันใหญ่ที่วิ่งไปมา แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมถึงพบรถเหล่านี้ได้ตามย่านชุมชนเกือบทุกที่เลย มันมีความสำคัญอย่างไรกัน บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘รถ Feeder’ ระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ลึกที่สุด ...

Writings

เมื่อความรักไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของคนสองคน แต่เป็นหลายคนก็ได้

เรื่อง : สายฝัน สวาดดี ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา ในสังคมไทย เราเคยชินกับวัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียว หมายความว่าการมีหลายผัวมากเมียถือเป็นการทำผิดศีลธรรม จนไปถึงผิดกฎหมายเลยทีเดียว แต่ในโลกปัจจุบันที่ความหลากหลายได้รับการยอมรับมากขึ้น จึงอยากแนะนำให้ได้รู้จักกับ Polyamory ...

Writings

“สัตว์ในสงคราม” ว่าด้วยบทบาทผู้ช่วยเหลือของ “สัตว์สงคราม”

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ แทบทุกหน้าประวัติศาสตร์อันว่าด้วยสงคราม มักปรากฏภาพมนุษย์ฆ่าฟันกันเอง จึงอาจไม่ผิดนักหากจะนิยามมนุษย์ว่าเป็น “สัตว์สงคราม”  หากแต่เราก็มิใช่สัตว์เพียงเผ่าพันธุ์เดียวในสนามรบ เพราะเราดึงเพื่อนร่วมโลกต่างเผ่าพันธุ์เข้ามาเกี่ยวในสมรภูมินี้ด้วย เมื่อการต่อสู้จบลง มนุษย์ก็สร้าง “วีรชนสงคราม” ขึ้นมา เราเชิดชูและบันทึกพวกเขาไว้บนหน้าบทเรียนประวัติศาสตร์ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save