SocialWritings

ฝน…หยุด! : เมื่อสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้การ ‘ปักตะไคร้’ ไม่ได้หยุดพร้อมกับสายฝน

เรื่อง : พรรณรมณ ศรีแก้ว

ภาพ : ณัฐกมล สิทธิวงศ์

หลายคนคงทราบกันดีว่าสภาพอากาศไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์อย่างเราจะสามารถออกคำสั่งให้เป็นไปดังใจหวังได้ แต่ในฤดูกาลที่ฝนฟ้าไม่เป็นใจต่อการเดินทางหรือการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างน้อยวิธีการทาง‘ไสยศาสตร์’ ก็อาจช่วยสร้างความหวังในการรอให้ฝนหยุดตกได้ ซึ่งวิธีที่ทุกคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘การปักตะไคร้’

การปักตะไคร้เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนานตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดความเชื่อมาจากไหน แต่ลักษณะร่วมของพิธีกรรมดังกล่าวในหลายๆ พื้นที่ก็คือ เมื่อฝนตั้งเค้าว่าจะตกในช่วงที่กำลังจัดงานหรือพิธีสำคัญ เช่น งานบุญ งานบวช รวมไปถึงกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆ ก็จะมีการเฟ้นหาตัวแทนสักคนมาทำหน้าที่ปักตะไคร้ โดยคุณสมบัติสำคัญที่มองหาก็คือ ต้องเป็น ‘หญิงพรหมจรรย์’ หรือผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ในบางพื้นที่ก็อาจมีรายละเอียดของคุณสมบัติที่ต่างกันออกไปตามแต่ละความเชื่อ เช่น บางพื้นที่จะเลือกหญิงพรหมจรรย์ที่เป็นลูกสาวคนเล็กของบ้าน บางพื้นที่จะเลือกเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน หรือบางพื้นที่ก็อาจเลือกแม่ม่ายที่ไม่ได้มีสามีมานานแล้ว หลังจากได้ตัวแทนเรียบร้อย ก็เป็นขั้นตอนของการหาตะไคร้ที่ตรงตามสูตรตำรา ตามด้วยบริกรรมคาถาและการตั้งจิตอธิษฐานขอให้ฝนหยุดตก จากนั้นจึงปักตะไคร้กลับหัวลงดิน แล้วรอดูว่าฝนจะหยุดตกหรือไม่

การปักตะไคร้ที่มาพร้อมกับอคติ ไม่มีใครเอา’ หรือ ไปโดนใครเอามา

ไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่ปักตะไคร้ไล่ฝน เพราะต้องมีการเลือกตัวแทนที่ตรงตามคุณสมบัติความเป็น ‘สาวบริสุทธิ์’ การปักตะไคร้จึงจะมีแนวโน้มประสบผลสำเร็จสูงตามความเชื่อได้ ในแง่หนึ่ง คุณสมบัติของผู้ปักตะไคร้อาจสะท้อนให้เห็นถึงนิยาม ‘ความเป็นหญิงที่ดี’ ตามกรอบประเพณีของสังคม และเป็นการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า เพศหญิงต้องมาคู่กับความบริสุทธิ์ที่อยู่เหนือเรื่องใต้สะดือเท่านั้น ถึงจะมีอำนาจต่อรองกับสิ่งที่มองไม่เห็นเพื่อให้ช่วยหยุดฝนระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ ได้

ทว่าในอีกแง่หนึ่ง การปักตะไคร้ก็เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ใช้ตีตราคุณค่าของผู้หญิง เพราะถ้าหากปักแล้วฝนยังตกอยู่ ก็อาจสื่อได้ว่าผู้ที่ปักตะไคร้ไม่ใช่สาวบริสุทธิ์จริงๆ ในทางกลับกัน ถ้าปักตะไคร้แล้วฝนหยุดตกตามต้องการ ก็มีแนวโน้มที่จะมีเสียงล้อเลียนว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่ใครสนใจมาสานความสัมพันธ์ด้วยมากกว่าจะชื่นชมกัน จะเห็นได้ว่าไม่ว่าฝนจะหยุดตกหรือไม่ ก็สามารถนำไปสู่บทสนทนาที่ลดทอนคุณค่าของผู้หญิงได้ทั้งสองทางอยู่ดี การปักตะไคร้จึงไม่ได้จบที่ฝนหยุด แต่กลับเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งแง่ต่อคุณค่าของผู้หญิงในสังคมไทย

การปักตะไคร้ที่มาพร้อมกับ อำนาจ’ ในมือของผู้หญิง

คุณอรินท์มาศ เลิศฤทธิ์ธราสิน หรือ บุตร อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ทำหน้าที่เทวสัมพันธ์ประจำคณะได้อธิบายว่า ขณะที่คนอื่นมองว่าการปักตะไคร้เป็นการลดทอนคุณค่าของผู้หญิงผ่านการตัดสินความบริสุทธิ์ เธอกลับมองได้อีกแง่หนึ่งว่า ผู้ที่จะมาปักตะไคร้ได้มีแต่เพศหญิงเท่านั้น มันสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ว่าผู้หญิงอาจมีอำนาจในการสั่งฟ้าฝน ในขณะที่ผู้ชายไม่สามารถทำแบบเดียวกันได้ นอกจากนี้การปักตะไคร้ก็เป็นสิทธิของผู้ที่ถูกเลือกเองว่าจะเลือกทำหรือไม่ จึงไม่ควรนำมาใช้ตัดสินคุณค่าของใคร

“คนที่ปักตะไคร้ได้มันมีจำนวนน้อยลงจริงๆ ซึ่งคนที่เลือกจะทำ มันก็เป็นทางเลือกของเขา ถึงเขาจะปักได้แล้วจะเกิดแบบ อุ๊ย เป็นสาวแก่ สาวเทื้อ ไม่มีคนเอา มันเป็นทางเลือกของเขาที่เขาเลือกจะไม่เอาใคร”

นอกจากความเชื่อเรื่องการปักตะไคร้ที่สามารถแสดงอำนาจในมือผู้หญิงได้แล้ว หากมองย้อนกลับไปยังหลายๆ ความเชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย เราก็จะพบว่ามี ‘เทพธิดา’ ประจำถิ่นที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของผู้คนอยู่ไม่มากก็น้อย เช่น พระแม่ธรณีที่ดูแลดิน พระแม่คงคาที่ดูแลแหล่งน้ำ หรือพระแม่โพสพซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งข้าว เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่า ตามความเชื่อดั้งเดิมนั้นผู้หญิงเป็นตัวแทนของอำนาจในการดลบันดาลสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปอย่างที่ใจต้องการ และมักเชื่อมโยงกับธรรมชาติ หรือวิถีชีวิตของผู้คนในทางบวก เช่น การทำให้พืชผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น

การปักตะไคร้อาจเป็นทั้งการตีตราและกดทับผู้หญิงในสังคม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์แสดงอำนาจของผู้หญิงได้ในเวลาเดียวกัน และแม้ว่าการปักตะไคร้จะถือเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ไม่อาจการันตีได้ว่า จะช่วยให้ฝนหยุดตกได้จริงหรือไม่ ผู้คนก็อดที่จะเชื่อไม่ได้อยู่ดี เพราะต่อให้เช็คพยากรณ์อากาศ วางแผนการเดินทาง หรือพกร่มก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ฝนก็มักจะตกในชั่วโมงเร่งด่วนที่คาดไม่ถึงเสมอ ซึ่งถ้าในเวลานั้นมีใครสักคนขันอาสาจะปักตะไคร้ให้ เราก็คงอยากเอาใจช่วยและลุ้นให้ฝนหยุดตกอยู่เต็มที ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นเพศใดก็ตาม

อ้างอิง:

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
3
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
1
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Social

Writings

สำรวจความสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงค่านิยมแบบไท๊ย ไทย ที่ทำให้วัตถุสนองความอยากทางเพศ ถูกปฏิเสธการมีอยู่

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: นภัสสร ยอดแก้ว จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมาสักระยะ ผู้เขียนพบสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ ‘การเปิดเผยเรื่องทางเพศอย่างตรงไปตรงมา’ จากเดิมที่แค่พูดแตะๆ เรื่องใต้สะดือก็มีสิทธิ์โดนแบนได้ง่ายๆ ตอนนี้กลับสามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ประสบการณ์เซ็กซ์ การบอกเทคนิคลีลาเด็ดมัดใจคู่นอนในโลกโซเชียล ...

Writings

เพราะธรรมศาสตร์ (แฟร์) สอนให้ฉันรักสัตว์?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ สิทธิเดช สายพัทลุง หลายคนคงทราบกันว่าช่วงวันที่ 18 ...

Writings

“ไม่มีใครเก่งเท่าเธอแล้ว” ว่าด้วยนิยามผู้หญิงเก่งในสายตาของแต่ละคน Part 1

เรื่องและภาพ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ, ปิยะพร สาวิสิทธิ์, สิทธิเดช สายพัทลุง และ อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์  วลี ‘ไม่มีใครเก่งเท่าแม่มึงแล้ว’ ชวนให้กองบรรณาธิการของเราตั้งคำถามว่า เราสามารถนิยาม ...

Writings

“รถ Feeder” เส้นเลือดฝอยที่สำคัญต่อคนเมืองไม่แพ้เส้นเลือดใหญ่

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ถ้าหากคุณเคยมากรุงเทพฯ โดยเฉพาะในย่านชุมชนที่พักอาศัย เชื่อว่าคุณอาจเคยเห็นรถสองแถวหรือรถเมล์คันเล็ก วิ่งอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้บ้าง แม้จะดูไม่โดดเด่นเท่ารถเมล์คันใหญ่ที่วิ่งไปมา แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมถึงพบรถเหล่านี้ได้ตามย่านชุมชนเกือบทุกที่เลย มันมีความสำคัญอย่างไรกัน บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘รถ Feeder’ ระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ลึกที่สุด ...

Writings

เมื่อความรักไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของคนสองคน แต่เป็นหลายคนก็ได้

เรื่อง : สายฝัน สวาดดี ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา ในสังคมไทย เราเคยชินกับวัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียว หมายความว่าการมีหลายผัวมากเมียถือเป็นการทำผิดศีลธรรม จนไปถึงผิดกฎหมายเลยทีเดียว แต่ในโลกปัจจุบันที่ความหลากหลายได้รับการยอมรับมากขึ้น จึงอยากแนะนำให้ได้รู้จักกับ Polyamory ...

Writings

“สัตว์ในสงคราม” ว่าด้วยบทบาทผู้ช่วยเหลือของ “สัตว์สงคราม”

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ แทบทุกหน้าประวัติศาสตร์อันว่าด้วยสงคราม มักปรากฏภาพมนุษย์ฆ่าฟันกันเอง จึงอาจไม่ผิดนักหากจะนิยามมนุษย์ว่าเป็น “สัตว์สงคราม”  หากแต่เราก็มิใช่สัตว์เพียงเผ่าพันธุ์เดียวในสนามรบ เพราะเราดึงเพื่อนร่วมโลกต่างเผ่าพันธุ์เข้ามาเกี่ยวในสมรภูมินี้ด้วย เมื่อการต่อสู้จบลง มนุษย์ก็สร้าง “วีรชนสงคราม” ขึ้นมา เราเชิดชูและบันทึกพวกเขาไว้บนหน้าบทเรียนประวัติศาสตร์ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save