LifestyleWritings

Shoplifters ความลักที่รัฐมอบให้

เรื่อง: ปรียาภรณ์ เมฆแสน

Shoplifters

หลายๆ คนอาจจะมองประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีเศรษฐกิจที่มั่นคง ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดี แต่ภายใต้สิ่งที่ทุกคนมองเห็นก็ยังมีบางสิ่งถูกซ่อนไว้ท่ามกลางความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของญี่ปุ่น นั่นก็คือ คนชายขอบที่สังคมกำลังมองข้ามและค่อยๆ ทอดทิ้งพวกเขาไปโดยไม่รู้ตัว

เรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกนำมาเล่าในภาพยนตร์เรื่อง Shoplifters (2018) ผ่านมุมมองของผู้กำกับและคนเขียนบทชาวญี่ปุ่นอย่าง โคเรเอดะ ฮิโรคาสุ เจ้าของผลงานภาพยนตร์แนวดราม่าครอบครัว เช่น Nobody knows (2004), Still walking (2008) หรือ Like father, like son (2013)

โดย Shoplifters ได้รับรางวัลใหญ่ อย่าง Palme d’Or (ปาล์มทองคำ) หรือรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี บนเวทีเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 71 (ปี 2018) ซึ่งเป็นเครื่องการันตีว่าเราไม่ควรพลาดภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้ไป

Shoplifters (2018) เป็นเรื่องราวของสมาชิกบ้านชิบาตะที่อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างยากลำบากในบ้านที่ล้อมรอบไปด้วยตึกสูงในกรุงโตเกียว ได้แก่ ฮัตซึเอะ (รับบทโดย คิริน กีกิ) ย่าผู้ใช้เงินบำนาญของสามีที่จากไปเป็นรายได้หลักให้แก่ครอบครัว โอซามุ (รับบทโดย ลิลลี แฟรงกี้) ลูกชายวัยใกล้เกษียณของฮัตสึเอะ แรงงานก่อสร้างที่ได้ค่าจ้างรายวันเพียงน้อยนิด และไม่มีความสามารถอื่นใดนอกจากการขโมยของ

โนบุยะ (รับบทโดย ซากุระ อันโดะ) ภรรยาของโอซามุ พนักงานซักอบรีดผู้ชอบขโมยทรัพย์สินจากกระเป๋าเสื้อผ้าของลูกค้า อากิ (รับบทโดย มายุ มัตสึโอกะ) เด็กสาววัยรุ่นที่ออกจากบ้านมาอยู่กับฮัตซึเอะ หาเลี้ยงชีพด้วยการโชว์เรือนร่างของตัวเองในตู้กระจก และโชตะ (รับบทโดย ไคริ จิโอ) เด็กชายกำพร้าที่ถูกโอซามุเก็บมาเลี้ยงตั้งแต่เด็ก และได้เรียนรู้ทักษะการขโมยของมาจากโอซามุเช่นกัน ซึ่งการขโมยของก็เป็นรายได้อีกทางหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวชิบาตะสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

วันหนึ่งหลังจากที่โอซามุและโชตะกลับมาจากการขโมยของที่ร้านสะดวกซื้อ ทั้งคู่ก็ได้เจอกับยูริ (รับบทโดย มิยุ ซาซากิ) เด็กหญิงวัย 5 ขวบนั่งอยู่คนเดียวที่ระเบียงหน้าบ้านของเธอท่ามกลางอากาศหนาว โอซามุจึงชวนยูริไปกินมื้อเย็นที่บ้าน และตัดสินใจพายูริมาอยู่ด้วยเมื่อรู้ว่าเธอถูกพ่อแม่แท้ๆ ทำร้ายร่างกาย ซึ่งการย้ายมาอยู่ที่บ้านชิบาตะของยูริก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องทุกอย่าง จนนำไปสู่การเปิดเผยความลับที่สมาชิกในครอบครัวต่างก็ปิดบังกันและกันเอาไว้

ผู้กำกับพยายามชวนให้เราขบคิดเรื่องสายสัมพันธ์ “ครอบครัว” ผ่านตัวละครอยู่หลายครั้งว่าความหมายที่แท้จริงของครอบครัวคืออะไร ใช่ครอบครัวที่ต้องเป็นสายเลือดเดียวกันอย่างที่สังคมหรือกฎหมายกำหนดหรือไม่ แล้วการที่พวกเขาทั้ง 6 คนมาอาศัยอยู่ด้วยกันโดยที่ไม่มีความผูกพันทางสายเลือด แต่กลับมีความผูกพันบางอย่างที่ทำให้มีความสุขได้ราวกับครอบครัวจริงๆ จะเรียกว่าอะไร

และสิ่งที่เกิดขึ้นกับยูริทั้งก่อนและหลังย้ายมาอยู่บ้านชิบาตะ ก็เกิดคำถามที่ตัวละครอย่างโนบุยะมักจะถามตัวเองอยู่บ่อยๆ จนหลายคนก็เก็บคำถามนั้นไปคิดตามว่า ‘หากเราเลือกเกิดไม่ได้ เราจะสามารถเลือกครอบครัวเองได้หรือไม่’

ตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมง Shoplifters ไม่ได้พูดถึงเรื่องความสัมพันธ์ของครอบครัวเพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงเรื่องของคนชายขอบหรือชนชั้นล่างของสังคมญี่ปุ่นไปพร้อมๆ กัน โดยจะเห็นได้จากการใช้ชีวิตที่ทั้ง 6 คนอาศัยอยู่ด้วยกันในบ้านหลังเล็ก ๆ อย่างแออัด อาหารที่กินกันส่วนใหญ่ก็จะเป็นบะหมี่ราคาถูก เพราะทุกคนต่างประกอบอาชีพเป็นชนชั้นแรงงานซึ่งรายได้จากอาชีพหลักไม่เพียงพอที่จะนำมาจุนเจือครอบครัว และไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

เช่น โอซามุได้รับบาดเจ็บขณะทำงานก่อสร้างจนต้องหยุดงาน แต่ก็ไม่ได้รับเงินคุ้มครองแรงงานจากรัฐบาลเพราะยังไม่ได้บาดเจ็บร้ายแรงตามเกณฑ์ รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทำให้บริษัทของโนบุยะมีนโยบาย Workshare หรือให้แรงงานแบ่งครึ่งเวลาเข้างานและหารรายได้กับเพื่อนร่วมกะ เพื่อลดรายจ่ายของบริษัท จนไปถึงการที่นายจ้างให้โนบุยะกับเพื่อนร่วมงานต้องเจรจาตกลงกันว่าใครจะเป็นฝ่ายลาออกจากงาน

บางครั้งหลายๆ นโยบายของรัฐบาลที่เข้าไม่ถึงชนชั้นล่าง ก็เหมือนเป็นการบีบบังคับให้ตัวละครตัดสินใจทำในเรื่องที่คนในสังคมไม่ยอมรับอย่างการขโมยของก็ได้ ซึ่งการกระทำแบบนั้นอาจจะเป็นสิ่งพวกเขาก็ไม่ได้เต็มใจที่จะทำเช่นกัน สังเกตได้จากตอนที่โอซามุและโนบุยะคุยกันว่าจะเลี้ยงดูยูริอย่างดีเพื่อไม่ให้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่แบบตัวเอง หรือตอนที่โอซามุบอกว่าตัวเองไม่มีความรู้อะไรที่จะสอนโชตะได้เลย นอกจากสอนทักษะการขโมยของที่เป็นความสามารถเพียงหนึ่งเดียวของเขาเท่านั้น

เช่นเดียวกัน หากลองเปรียบเทียบนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นใน Shoplifters กับนโยบายของรัฐบาลไทย อาจจะรู้สึกได้ว่าบางนโยบายก็ผลักให้คนชายขอบมีสถานะความเป็นชายขอบยิ่งกว่าเดิมเพราะไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้เท่าเทียมกับคนอื่น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็น่าจะเป็นโครงการเราไม่ทิ้งกันของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นมาตรการแจกเงินเยียวยา 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน) เดือนละ 5,000 บาท ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โครงการนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังพยายามช่วยเหลือ เยียวยาประชาชนให้ได้อย่างทั่วถึง แต่เมื่อลองพิจารณาดู จะพบว่ารัฐบาลกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ควรจะได้รับเงินไว้มากมาย เช่น ต้องเป็นแรงงาน ลูกจ้าง หรือประกอบอาชีพอิสระ และต้องไม่อยู่ในระบบประกันสังคม อีกทั้งยังต้องชี้แจงว่าโรคระบาดนี้ส่งผลกระทบต่อรายได้ที่เป็นตัวเงินมากน้อยเพียงใด

นอกจากจะกำหนดเกณฑ์แล้วก็ยังกำหนดผู้ที่ไม่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาหรือผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ไว้อีกมากมาย เช่น ผู้ที่ตกงานมานาน เจ้าของกิจการที่ปิดกิจการก่อนการระบาดของ Covid-19 หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นต้น ซึ่งความรู้สึกที่ไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับคนอื่น อาจจะเป็นการบีบให้พวกเขาลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่คนในสังคมไม่ยอมรับด้วยการเป็นขโมยอย่างโอซามุและโนบุยะ หรือว่าร้ายแรงกว่านั้นก็ได้

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

2 Comments

  1. Wow, superb weblog format! How long have you ever been running a blog for?
    you make running a blog look easy. The whole glance of
    your website is great, let alone the content material!
    You can see similar here dobry sklep

  2. Thanks for sharing. I read many of your blog posts, cool, your blog is very good.

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

More in:Lifestyle

Writings

ผู้ดูแลคนพิการคือสมาชิกในครอบครัวของฉัน

เรื่องและภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ย้อนกลับไปเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่ฉันกำลังทำความสะอาดข้าวของเก่าๆ ในห้องเก็บของอยู่ สายตาก็พลันเหลือบไปเห็นกล่องพลาสติกใสมีฝาปิด ด้านในอัดแน่นไปด้วยอัลบั้มรูปภาพตั้งเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ  ฉันตัดสินใจนั่งลงบนพื้นแล้วเปิดฝากล่องออก ค่อยๆ หยิบอัลบั้มแต่ละเล่มออกมาเปิดดูด้วยความสงสัย รูปทั้งหมดหลายร้อยใบล้วนเป็นรูปครอบครัวของฉัน มันได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีในซองพลาสติกใสของอัลบั้ม ทว่าน่าเสียดายที่ไม่มีใครเขียนวันเดือนปีระบุเอาไว้ ...

Writings

แตก 4 ซีซัน 4 ประเด็นของซีรีส์เพศศึกษา

เขียน จิรัชญา นุชมี ภาพ กัญญาภัค วุฒิรักขจร Sex Education คือซีรีส์ออริจินัลจาก Netflix ที่โด่งดังและจัดจ้านในประเด็นการเล่าถึงเรื่องเพศศึกษา อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ทว่าไม่ใช่เพียงประเด็นเรื่อง เพศ เท่านั้น ...

Writings

Dear Dorothea ยังมีที่ว่างให้ฉันอยู่ไหม

เขียน กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ กัญญาภัค วุฒิรักขจร บทเปิดจากภาพยนตร์เพื่อน (ไม่) สนิทบอกไว้ว่าทั้งชีวิตคนเราจะมีเพื่อนได้แค่ 150 คน จากการคำนวณด้วยสมการของนักวิทยาศาสตร์ โดยใน 150 คน ...

Writings

ห้ามพลาดกับศึกที่ไม่มีครั้งที่ 2 ใน Haikyuu!!  เดอะมูฟวี่ “ศึกตัดสินแห่งกองขยะ”

เขียนและภาพ : ศิรประภา ศรีดาจันทร์ Haikyuu (ハイキュー!!) หรือ ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน เป็นการ์ตูนเกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอลนักเรียนม.ปลายในญี่ปุ่น ผลงานของอาจารย์ฟุรุดาเตะ ฮารุอิจิ ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Weekly Shonen ...

Writings

ตุ๊กตาหมีกับการเป็นสัญลักษณ์ความอบอุ่น 

เขียน : จิตริณี แก้วใจ  ภาพ : ศิรประภา ศรีดาจันทร์  หลายคนคงเคยมีช่วงเวลาที่ชื่นชอบสิ่งที่เรียกว่าตุ๊กตาหมี  เพราะการมีตุ๊กตาหมีให้กอดหรืออยู่เคียงข้างกายนั้น สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย คลายความเหงา และสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจได้เป็นอย่างดี  ซึ่งอาจเป็นเพราะความสามารถพิเศษเหล่านี้ของเจ้าตุ๊กตาหมี ทำให้มีวันที่เรียกว่า ...

Writings

Girls And Boys by Jenny Han เด็กหนุ่มเด็กสาวในแบบฉบับของเจนนี่ ฮานส์

เขียน : จิรัชญา นุชมี ภาพ : จิรัชญา นุชมี และ ศิรประภา ศรีดาจันทร์ หากใครเป็นสาวกซีรีส์ฝรั่งก็คงจะเคยได้ยินชื่อ To All The ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save