Writings

เงื่อนงำหมูตาย: ใครได้-ใครเสีย

เรื่อง พัณณิตา ดอนเลย
ภาพ เก็จมณี ทุมมา

ในปี 2564 ที่ผ่านมาสัตวแพทย์จากหลายมหาวิทยาลัยในไทยแสดงถึงความกังวลต่อการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรหรือ ASF ทั้งยังพยายามส่งเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งควบคุมโรคดังกล่าว โดยไทยรัฐพลัสได้เผยถึงสำเนาเอกสารแจ้งผลการชันสูตรซากหมูที่เสียชีวิต ซึ่งตรวจชันสูตรโดยคณะ สัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และส่งไปให้กรมปศุสัตว์เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการพบโรค ASF ในไทยจริง ๆ ต่อมาในเดือนธันวาคมปี 2564 ภาคีคณบดีสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย อันประกอบไปด้วยคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย 14 สถาบัน ได้ทำหนังสือย้ำให้อธิบดีกรมปศุสัตว์เร่งควบคุมโรค ASF โดยด่วน

ด้านกรมปศุสัตว์ยืนยันว่าหมูในประเทศไทยเป็นโรคเพิร์ส (PRRS) ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่น มียาและวัคซีนรักษา รวมทั้งไม่พบโรค ASF ดังที่กล่าวอ้าง ซึ่งข้อยืนยันนี้ก็ขัดแย้งกับการที่ไต้หวันทยอยพบกุนเชียงจากไทยซึ่งปนเปื้อนเชื้อ ASF ในปลายปีเดียวกัน แต่ถึงอย่างนั้นแล้วกรมปศุสัตว์ก็ยังคงตอบกลับว่าไม่พบเชื้อดังกล่าวในไทย

ในวันที่ 7 ม.ค. 2565 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์โดยย้ำว่าไทยยังไม่พบเชื้อ ASF ก่อนที่ต่อมากรมปศุสัตว์จะเผยแพร่คลิปแถลงว่าตรวจพบเชื้อ 1 ตัวอย่างจาก 309 ตัวอย่าง ท่ามกลางราคาเนื้อหมูที่กำลังสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ

ในขณะที่เนื้อหมูราคาแพงขึ้นเป็นประวัติการณ์ สังคมไทยก็เต็มไปด้วยคำถามต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่าทำไมสัตวแพทย์ในไทยและประเทศปลายทางที่นำเข้าผลิตภัณฑ์หมูจากไทยจึงพบเชื้อ ASF แล้วทำไมถึงมีเพียงรัฐบาลไทยที่ไม่รู้ เกิดอะไรขึ้นภายใต้ซากหมูเหล่านั้นกันแน่ และใครบ้างที่ต้องแบกรับผลของเรื่องนี้

ปัญหาเนื้อหมูที่ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่ถึงเดือนนี้ส่งผลกระทบตั้งแต่คอกหมูยันจานอาหาร โดยผู้เลี้ยงหมูในฟาร์มเล็กหลายรายต้องฆ่าหมูทันทีที่พบเชื้อเนื่องจากเป็นฟาร์มเปิด ไม่มีระบบการจัดการเหมือนฟาร์มขนาดใหญ่ บางฟาร์มต้องฆ่าถึง 100% เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ผู้เลี้ยงหมูหลายรายต้องพักคอกเพราะไม่สามารถประคองค่าใช้จ่ายต่อไปได้

ในขณะที่ฟาร์มซึ่งใช้ระบบปิดและมีมาตรฐานหลายฟาร์มในจังหวัดระยองและตราด มีหมูที่สมบูรณ์พร้อมขาย แต่ไม่สามารถขายให้ผู้อื่นได้เนื่องจากต้องขายให้บริษัทคู่ค้าตามหลักการทำเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งในกรณีของฟาร์มหมูคือการรับหมูจากบริษัทเอกชนรายใหญ่มาเลี้ยง และดูแลให้หมูเหล่านั้นเติบโตในเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด จากนั้นจึงจะขายให้บริษัทคู่ค้าในราคาประกันที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ต้น โดยกรณีที่เป็นประเด็นนี้มีการประกันราคาอยู่ที่ 60 บาท/กิโลกรัม
เสียงสะท้อนจากหนึ่งในผู้เลี้ยงหมูแบบเกษตรพันธสัญญาคือความกังวลที่มีต่อราคาหน้าเขียงหมูซึ่งแพงถึง 220-240 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ฟาร์มของตนมีหมูพร้อมขายหลักพันตัวในราคา 60 บาท/กิโลกรัม แต่บริษัทเอกชนก็ยังไม่มาจับหมูไปขายเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนเนื้อหมูในท้องตลาดเสียที

ด้านประชาชนที่อ่วมจากพิษ COVID-19 มาราว 2 ปี เมื่อเจอราคาเนื้อหมูที่แพงอย่างก้าวกระโดดจึงค่อนข้างลำบากเช่นกัน ซ้ำศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังประเมินว่าราคาเนื้อหมูเฉลี่ยตลอดปี 2565 จะเพิ่มขึ้นราว 30% เมื่อเทียบกับปี 2564 หรือมีราคาประมาณ 190-220 บาท/กิโลกรัม

ผลจากการดำเนินการควบคุมโรคระบาดที่ดูเหมือนจะวิ่งตามราคาหมูไม่ทันนี้ กระทบถึงประชาชนหลายภาคส่วน การที่กรมปศุสัตว์ในนามของหน่วยงานรัฐไม่เร่งตรวจสอบและควบคุมโรคระบาดตั้งแต่ปี 2564 แม้ว่าจะมีเอกสารผลการชันสูตรซากหมูที่เสียชีวิตจากโรค ASF ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงการประชุมที่มีการถกเถียงกันอย่างหนักเรื่องคำตอบที่จะประกาศต่อสาธารณชนว่ามีการพบเชื้อ ASF หรือไม่นี้สะท้อนว่าการทำงานของรัฐบาลนั้นให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรายใหญ่หรือนายทุนที่ส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหมูเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากพบว่ามีการระบาดในประเทศไทย การส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวจะชะงักทันที แม้ว่าสุดท้ายแล้วก็จะต้องจำยอมแถลงผ่านคลิปต่อประชาชนว่าพบเชื้อจริง ๆ เนื่องจากไม่สามารถเก็บเงียบต่อไปได้แล้วก็ตาม

ไม่เพียงเท่านั้น การรวมศูนย์ของอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ที่ส่งผลให้หมูแพงซึ่งรายงานโดยเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยังชี้ว่าในประเทศไทยมีบริษัทขนาดใหญ่ที่ควบคุมตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์กระทั่งถึงจุดจำหน่าย นับแค่บริษัทเดียวก็มีส่วนแบ่งตลาดราว 1 ใน 3 ของประเทศ โครงสร้างทางสังคมนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ผลประโยชน์มากกว่าผู้อื่นในช่วงวิกฤตดังที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการประกาศว่ามีการระบาดของเชื้อ ASF ก็ตาม

โครงสร้างในประเทศนี้จึงทำให้เกิดการเอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเสมอ และปัญหาที่ซุกอยู่ภายใต้ซากศพหมูก็สามารถสะท้อนถึงสิ่งที่อาจจะซ่อนอยู่ในเรื่องอื่น ๆ ดังที่รศ.น.สพ.กิจจา อุไรรงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เข้าร่วมประชุมกับกรมปศุสัตว์ก่อนประกาศว่าพบเชื้อ ASF ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการเอาให้ชัดไว้ว่า “เรารู้ (เรื่องการติดเชื้อ) มาตลอด … แต่เมืองไทยมีใครบังคับใช้กฎหมาย 100% อำนาจ อิทธิพล ผลประโยชน์ทำให้การควบคุมโรคเกิดขึ้นได้โดยไม่สมบูรณ์”


บรรณานุกรม
ประชาชาติธุรกิจ. 2565. “ภาคีคณบดีสัตวแพทย์ ร่อนหนังสือถึงปศุสัตว์ หาคำตอบ หลังพบ ASF ในหมูจริง.”
เข้าถึงวันที่ 19 มกราคม 2565. https://www.prachachat.net/economy/news-837924
ประชาชาติธุรกิจ. 2565. “ไต้หวันพบอีก พัสดุปนเปื้อนอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ส่งจากไทย.” เข้าถึงวันที่ 19
มกราคม 2565. https://www.prachachat.net/world-news/news-836959
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. 2565. “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับไบโอไทย และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ระบุเนื้อ
หมูแพงเพราะ “การรวมศูนย์ของการผลิตเนื้อสัตว์”.” เข้าถึงวันที่ 19 มกราคม 2565.
https://www.consumerthai.org/consumers-news/ffc-news/4672-ffc-pork-060164.html
Thairath Online. 2565. “ฟาร์มระยองยัน ขายหมูกก. 60 บาทจริง มีสัญญาผูกมัด ยังสงสัยทำไมถึงแพง
(คลิป).” เข้าถึงวันที่ 19 มกราคม 2565. https://www.thairath.co.th/news/local/east/2291182
Thairath Plus. 2565. “เปิดหลักฐานยืนยัน หมูตายด้วยโรค ‘อหิวาต์แอฟริกาในสุกร’ กับข้อสงสัยกรมปศุ
สัตว์ปกปิดความจริง.” เข้าถึงวันที่ 19 มกราคม 2565.
https://plus.thairath.co.th/topic/money/100927
The MATTER. 2565. “สรุปกรณี รัฐปกปิดความจริงเรื่องโรคระบาด ‘อหิวาต์แอฟริกา’ ในหมู? ส่งผลค่า
ครองชีพสูงขึ้นทั้งประเทศ.” เข้าถึงวันที่ 19 มกราคม 2565.
https://thematter.co/brief/164643/164643

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Writings

Writings

‘RICE สาระ’ เรื่องข้าวๆ ของคนวิจัยข้าว

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ นี่สินะที่เรียกว่า ‘ความเงียบที่ดังที่สุด’ ความเงียบก่อตัวขึ้นในกองบรรณาธิการเล็กๆ ของเรา หลังสิ้นคำถามของฉันว่า “มีใครรู้จักศูนย์วิจัยข้าวไหม” แม้จะคาดหวังคำตอบว่า ‘รู้จัก’ อยู่เล็กน้อย แต่ความเงียบก็ได้ตอบคำถามแล้วว่า ‘ไม่มีใครรู้จักเลย’ ...

Writings

สำรวจความสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงค่านิยมแบบไท๊ย ไทย ที่ทำให้วัตถุสนองความอยากทางเพศ ถูกปฏิเสธการมีอยู่

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: นภัสสร ยอดแก้ว จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมาสักระยะ ผู้เขียนพบสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ ‘การเปิดเผยเรื่องทางเพศอย่างตรงไปตรงมา’ จากเดิมที่แค่พูดแตะๆ เรื่องใต้สะดือก็มีสิทธิ์โดนแบนได้ง่ายๆ ตอนนี้กลับสามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ประสบการณ์เซ็กซ์ การบอกเทคนิคลีลาเด็ดมัดใจคู่นอนในโลกโซเชียล ...

Writings

When the party’s over, what do we need to recover? งานธรรมศาสตร์แฟร์ ทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้เราบ้าง

เรื่องและภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” คำพูดที่มีความหมายว่า แม้จะเจออะไรที่แย่ขนาดไหน แต่หลังจากที่มันผ่านไป ก็จะมีสิ่งดีตามมาเสมอแต่สำหรับงานธรรมศาสตร์แฟร์ (Thammasat Fair) เหมือนว่าจะไม่ใช่แบบนั้น งานธรรมศาสตร์แฟร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ...

Writings

ผู้ดูแลคนพิการคือสมาชิกในครอบครัวของฉัน

เรื่องและภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ย้อนกลับไปเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่ฉันกำลังทำความสะอาดข้าวของเก่าๆ ในห้องเก็บของอยู่ สายตาก็พลันเหลือบไปเห็นกล่องพลาสติกใสมีฝาปิด ด้านในอัดแน่นไปด้วยอัลบั้มรูปภาพตั้งเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ  ฉันตัดสินใจนั่งลงบนพื้นแล้วเปิดฝากล่องออก ค่อยๆ หยิบอัลบั้มแต่ละเล่มออกมาเปิดดูด้วยความสงสัย รูปทั้งหมดหลายร้อยใบล้วนเป็นรูปครอบครัวของฉัน มันได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีในซองพลาสติกใสของอัลบั้ม ทว่าน่าเสียดายที่ไม่มีใครเขียนวันเดือนปีระบุเอาไว้ ...

Writings

ครบรอบ 45 ปี กับการปรากฏตัวของ Dorami ตัวประกอบหลักผู้คงอยู่เพื่อคนอื่น?

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง “โดราเอมอนถูกหนูกัดใบหูจนต้องนำหูออก เขาเศร้าใจมากและร้องไห้จนสีตัวของตัวเองเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีฟ้า” ส่วนหนึ่งจากที่มาที่ไปของ ‘โดราเอมอน’ เจ้าหุ่นยนต์อ้วนกลมตัวสีฟ้า ผู้ที่ย้อนเวลามาช่วยเหลือ ‘โนบิ โนบิตะ’ เด็กผู้ชายที่ใช้ชีวิตอยู่บนความขี้เกียจและไม่สนใจการเรียน ให้สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองและมีชีวิตที่สดใสในอนาคต แต่คนที่ทำให้โดราเอมอนสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...

Writings

“ไม่มีใครเก่งเท่าเธอแล้ว” ว่าด้วยนิยามผู้หญิงเก่งในสายตาของแต่ละคน Part 2

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, ทยาภา เจียรวาปี, ภัสรา จีระภัทรกุล และ พนิดา ช่างทอง เชื่อว่าเราทุกคนล้วนมีผู้หญิงเก่งในใจตัวเองกันทั้งนั้น แต่จะเป็นใคร มีลักษณะนิสัยอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกส่วนตัว ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save