SocialWritings

Mental Health 101 เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพจิต ฉบับเข้าใจง่าย

เรื่องและภาพ : ณัชชา กลิ่นประทุม


Trigger Warning :
บทความชิ้นนี้มีการกล่าวถึงการฆ่าตัวตายและความอยากที่จะฆ่าตัวตาย


ในช่วง 1-2 ปีมานี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สร้างบาดแผลเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นบาดแผลทางร่างกายที่เชื้อโรคกัดกินระบบทางเดินหายใจจนทำให้ร่างกายของเราไม่สมบูรณ์แข็งแรงเท่าเดิม หรือบาดแผลทางใจที่การแพร่ระบาดในครั้งนี้ส่งผลให้ใครหลายคนต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โอกาส หน้าที่การงาน หรือทรัพย์สินเงินทอง

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตเปิดเผยข้อมูลว่าผู้คนในพื้นที่สีแดงและสีส้มกำลังเผชิญหน้ากับความอ่อนล้า ความเครียด และบางคนเข้าข่ายที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดว่าเราควรจะดูแลและรู้เท่าทันสภาพจิตของเราให้ดีเท่ากันกับการที่เราดูแลสุขภาพกาย

ผู้เขียนได้มีโอกาสลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาและโรคทางจิตเวช ดังนั้นบทความในวันนี้เราจึงอยากจะนำเสนอเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในจักรวาล ‘Mental Health’ ที่เราคิดว่ามันน่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หวังว่าทุกคนจะรู้สึกเพลิดเพลินและได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์กลับไปจากการอ่านบทความชิ้นนี้

ว่าด้วยเรื่องความเหงา

คนทุกคนต้องการเป็นเจ้าของและต้องการที่จะถูกเป็นเจ้าของ หรือที่เรียกว่า human have a need to belong แต่เมื่อเราขาดเพื่อน ขาดเครือข่ายทางสังคม ขาดการสนับสนุนทางอารมณ์ เราขาดความรู้สึกที่เราคาดหวังว่าจะได้รับจากความสัมพันธ์ที่เรามีอยู่ เราก็จะเกิดความเหงาขึ้น

ความเหงาส่งผลโดยตรงกับสุขภาพ เมื่อเกิดความเหงา ฮอร์โมนความเครียดของเราจะหลั่งออกมามากขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น นอนหลับไม่สนิท หรือในบางคนอาจจะมีอาการซึมเศร้า ดร.วิเวก เมอร์ธี นายแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาบอกว่า ความเหงาส่งผลโดยตรงกับสุขภาพเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน โดยเราสามารถเอาชนะความเหงาได้ด้วยการมองโลกในแง่ดีและมีความหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้น หาเพื่อนใหม่ที่ไม่ใช่แค่สถานะคนรู้จัก แต่อย่ามองหาคนรักเพราะถ้าคุณถูกปฏิเสธและรู้สึกผิดหวัง คุณอาจจะรู้สึกเหงามากกว่าเดิม หรือโพสต์เรื่องราวลงบน facebook โดยไม่ต้องสนใจยอดกดไลก์หรือคอมเมนต์ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยคลายความเหงาลงได้

Depression vs. Grief

พูดถึงเรื่องความเศร้า อารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ในช่วงที่เราสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหรือสูญเสียบุคคลที่มีความผูกพันกับเรามาก ๆ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าอารมณ์เศร้าจะมาเคาะประตูหน้าบ้านของเราแน่นอน ในหัวข้อนี้ผู้เขียนอยากจะมาแบ่งปันให้ฟังว่าความเศร้าแบบโรคซึมเศร้ากับความเศร้าจากสูญเสียบุคคลสำคัญมีความแตกต่างกันอย่างไร

‘Grief or Bereavement’ คือ ภาวะอารมณ์ผิดปกติจากการสูญเสียบุคคลสำคัญ เป็นความรู้สึกว่างเปล่า สูญเสีย ในบางคนอาจจะมีความคิดอยากจบชีวิตตัวเองด้วยเหตุผลเพราะรู้สึกผิดพลาดกับคนที่จากไป อยากจบชีวิตเพื่อไปอยู่กับคนที่เสียชีวิตไปแล้ว มีอารมณ์เศร้าตอนคิดถึง แต่ตอนที่ไม่ได้คิดถึงก็จะไม่ได้รู้สึกเศร้า บางครั้งเมื่อคิดถึงคนที่จากไปก็อาจจะมีรอยยิ้มเพราะคิดถึงช่วงเวลาดี ๆ ตอนเขาคนนั้นยังมีชีวิตอยู่

ส่วนโรคซึมเศร้า หรือ Major Depressive Disorder นั้น คุณหมอทางจิตเวชที่มาสอนในรายวิชาเรียนบอกว่า คนไข้จะรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถมีความสุขได้เลย มองว่าตัวเองแย่ ไม่มีค่า ไม่มีความหมาย และจะมีความคิดอยากจบชีวิตของตัวเองเพราะรู้สึกว่าเหมาะสมแล้วที่เราจะไม่มีชีวิตอยู่ คนที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถจัดการกับความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคได้

มีอาการไม่ได้แปลว่าเป็นโรค แล้วจะเป็นโรคต้องเป็นแบบไหน

โรคทางจิตเวช คือ กลุ่มอาการที่มีความสำคัญทางคลินิก หมายความว่า เมื่อป่วยแล้วต้องได้รับการรักษา มันคือการที่บุคคลหนึ่งมีกระบวนการคิด การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมที่ผิดปกติ การที่จะบอกว่าบุคคลหนึ่งเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่นั้น ต้องดูว่าความผิดปกตินั้นส่งผลต่อการสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ (เช่น การดูแลตัวเอง การซื้อของ การเดินทาง) ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางใจ หรือทำให้เกิดความไม่สุขสบายในการทำงานร่วมกับสังคมหรือไม่ (เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น) และความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้ว

กล่าวโดยสรุป คือ มีอาการแต่ไม่ได้แปลว่าเป็นโรค หมายความว่า คนเราสามารถมีอารมณ์เศร้า กังวล เสียใจได้ แต่ถ้าหากอารมณ์หรืออาการที่เราเป็นเหล่านั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้การทำงานหรือการเรียนเกิดปัญหา ก็ควรที่จะเข้ารับคำปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ จากนั้นในการวินิจฉัยโรค จิตแพทย์จะพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ symptoms & signs (เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ พูดคนเดียว ทำร้ายตัวเอง), duration (ระยะเวลาที่เกิดความผิดปกติขึ้น), และ distress or dysfunction (เช่น เกิดความทุกข์ใจ สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน) ถ้าใครมีครบทั้ง 3 ปัจจัยแปลว่าคุณกำลังมีอาการผิดปกติ จิตแพทย์ก็จะพิจารณาให้เข้ารับการรักษาต่อไป

ไม่ต้องป่วยก็ไปหานักจิตวิทยาได้

หลายคนอาจจะคิดว่าต้องรอมีอาการป่วยถึงจะไปพบนักจิตวิทยา แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเข้าพบนักจิตวิทยาไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงว่าเราป่วยเท่านั้น อาจารย์ ดร.จารุวรรณ สกุลคู อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวไว้ในบทความเรื่อง ‘สุขภาพจิตที่ดี เริ่มต้นจากการดูแลตนเอง นักจิตวิทยา แนะไม่ต้องรอจนป่วย ก็ปรึกษาได้’ ในประเด็นนี้ว่า “การมาพบนักจิตวิทยา ไม่ต้องรอจนป่วย เราสามารถคุยกับเพื่อน คนรอบตัว คนที่เราไว้ใจ ซึ่งบางทีแค่เราบ่นให้ฟัง เราก็รู้สึกดีขึ้นได้ หรือบางครั้งไม่ได้มีปัญหา แต่เราอยากพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ใช้ศักยภาพได้ดีกว่าเดิม หรือเราอยากห่างไกลจากการเจ็บป่วย หรืออยากมีสุขภาพจิตเชิงบวกก็สามารถมาพบนักจิตวิทยาได้”

ลองนึกภาพว่า ในวันหนึ่ง ช่วงเช้าคุณรู้สึกเศร้ามาก ตกเย็นอารมณ์ดีขึ้น ตกดึกกลับมาเศร้าใหม่ หรือนึกภาพว่าคุณรู้สึกกระสับกระส่าย ไม่อยากอาหาร ไม่มีความสุข ไม่อยากทำอะไร มีความคิดวนเวียนอยู่ในหัว คุณมีอาการเหล่านี้สัก 2 สัปดาห์ หรืออาจจะเป็นเดือน ปี หลายปี มันคงจะทรมานมากไม่ใช่น้อย

การมีสุขภาพจิตที่ดี คือ การที่จิตใจของเรามีความสุข มีความรู้สึกในทางที่ดีต่อตนเองและต่อบุคคลอื่น มีความสามารถที่จะปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตตามกิจวัตรของตนเองเพื่อให้ยังสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ การมีสภาพจิตใจที่แข็งแรงก็จะส่งผลให้เรามีสุขภาพทางกายที่ดีตามไปด้วย มันอาจจะช่วยลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะมีสุขภาพจิตที่ดี ? วิธีการที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำเนื่องจากทำได้ง่ายในช่วงเวลานี้ ได้แก่ การออกกำลังกายและทำกิจกรรมสันทนาการให้ตนเองได้ผ่อนคลาย การหาช่วงเวลาให้ตัวเองได้คลายความเครียด การนอนให้เพียงพอต่อความต้องการ มองโลกในด้านที่ดีและตั้งเป้าหมายในชีวิต และการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง

ผู้เขียนขอยกเนื้อหาส่วนหนึ่งในหนังสือเรื่อง ‘เลิกเป็นคนดี แล้วจะมีความสุข’ (เขียนโดย โกะโด โทคิโอะ) ที่ผู้เขียนชอบมากจนอยากจะเอามาเล่าต่อ เผื่อว่าจะช่วยสร้างความรู้สึกดี ๆ และเป็นกำลังใจให้กับคุณผู้อ่านหลาย ๆ คนในช่วงเวลานี้ “ทุกท่านเคยเห็นดินสอสีแบบ 24 สีใช่ไหมครับ สมัยเป็นเด็ก ยิ่งมีสีเยอะก็ยิ่งตื่นเต้นดีใจ เวลามองดินสอสีเหล่านั้น เราก็ไม่ได้คิดว่าสีฟ้านี้ดูหม่น ๆ แปลก ๆ หรือสีแดงอ่อนไปไม่มีคุณค่าเลย ใช่ไหมล่ะครับ สรุปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหนก็มีคุณค่าของมันในรูปแบบที่แตกต่างกัน คนเราก็เช่นกัน ทุกคนล้วนมีสีต่างกันไปและมีคุณค่าในสีของตัวเอง ดังนั้น คุณซึ่งมีนิสัยหรือความคิดในแบบเฉพาะของตัวเอง ก็มีคุณค่าในฐานะของดินสอสีสีหนึ่งซึ่งมีเพียง 1 ใน 700 ล้านสีบนโลกใบนี้ หากดินสอสีหนึ่งกล่องมีเพียงสีเดียวย่อมไม่น่าสนใจ หรือโลกที่มีเพียงสีเดียวก็คงดูหน้าแปลกพิกล”

หวังว่าบทความชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้คุณผู้อ่านทุกคนหันมาให้ความสำคัญและไม่ละเลยที่จะดูแลสุขภาพใจของตนเองให้แข็งแรง แล้วพบกันใหม่ 😊


ที่มาของข้อมูล

https://www.dmh.go.th/service/view.asp?id=147
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/950165
https://tu.ac.th/thammasat-mental-health-situation-2019
https://www.voathai.com/a/ages-of-loneliness/4706290.html

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Social

Writings

สำรวจความสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงค่านิยมแบบไท๊ย ไทย ที่ทำให้วัตถุสนองความอยากทางเพศ ถูกปฏิเสธการมีอยู่

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: นภัสสร ยอดแก้ว จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมาสักระยะ ผู้เขียนพบสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ ‘การเปิดเผยเรื่องทางเพศอย่างตรงไปตรงมา’ จากเดิมที่แค่พูดแตะๆ เรื่องใต้สะดือก็มีสิทธิ์โดนแบนได้ง่ายๆ ตอนนี้กลับสามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ประสบการณ์เซ็กซ์ การบอกเทคนิคลีลาเด็ดมัดใจคู่นอนในโลกโซเชียล ...

Writings

เพราะธรรมศาสตร์ (แฟร์) สอนให้ฉันรักสัตว์?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ สิทธิเดช สายพัทลุง หลายคนคงทราบกันว่าช่วงวันที่ 18 ...

Writings

“ไม่มีใครเก่งเท่าเธอแล้ว” ว่าด้วยนิยามผู้หญิงเก่งในสายตาของแต่ละคน Part 1

เรื่องและภาพ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ, ปิยะพร สาวิสิทธิ์, สิทธิเดช สายพัทลุง และ อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์  วลี ‘ไม่มีใครเก่งเท่าแม่มึงแล้ว’ ชวนให้กองบรรณาธิการของเราตั้งคำถามว่า เราสามารถนิยาม ...

Writings

“รถ Feeder” เส้นเลือดฝอยที่สำคัญต่อคนเมืองไม่แพ้เส้นเลือดใหญ่

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ถ้าหากคุณเคยมากรุงเทพฯ โดยเฉพาะในย่านชุมชนที่พักอาศัย เชื่อว่าคุณอาจเคยเห็นรถสองแถวหรือรถเมล์คันเล็ก วิ่งอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้บ้าง แม้จะดูไม่โดดเด่นเท่ารถเมล์คันใหญ่ที่วิ่งไปมา แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมถึงพบรถเหล่านี้ได้ตามย่านชุมชนเกือบทุกที่เลย มันมีความสำคัญอย่างไรกัน บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘รถ Feeder’ ระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ลึกที่สุด ...

Writings

เมื่อความรักไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของคนสองคน แต่เป็นหลายคนก็ได้

เรื่อง : สายฝัน สวาดดี ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา ในสังคมไทย เราเคยชินกับวัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียว หมายความว่าการมีหลายผัวมากเมียถือเป็นการทำผิดศีลธรรม จนไปถึงผิดกฎหมายเลยทีเดียว แต่ในโลกปัจจุบันที่ความหลากหลายได้รับการยอมรับมากขึ้น จึงอยากแนะนำให้ได้รู้จักกับ Polyamory ...

Writings

“สัตว์ในสงคราม” ว่าด้วยบทบาทผู้ช่วยเหลือของ “สัตว์สงคราม”

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ แทบทุกหน้าประวัติศาสตร์อันว่าด้วยสงคราม มักปรากฏภาพมนุษย์ฆ่าฟันกันเอง จึงอาจไม่ผิดนักหากจะนิยามมนุษย์ว่าเป็น “สัตว์สงคราม”  หากแต่เราก็มิใช่สัตว์เพียงเผ่าพันธุ์เดียวในสนามรบ เพราะเราดึงเพื่อนร่วมโลกต่างเผ่าพันธุ์เข้ามาเกี่ยวในสมรภูมินี้ด้วย เมื่อการต่อสู้จบลง มนุษย์ก็สร้าง “วีรชนสงคราม” ขึ้นมา เราเชิดชูและบันทึกพวกเขาไว้บนหน้าบทเรียนประวัติศาสตร์ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save