Lifestyle

ค่าใช้จ่ายในการมีความรัก ฉบับ GEN Z

เรื่องและภาพประกอบ : ปาณิสรา ช้างพลาย

Varasarnpress ชวนคุณมาร่วมสำรวจค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากการมีความรัก ฉบับเด็ก Gen Z 

จากการเผยแพร่แบบสอบถามทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 21 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 มีกลุ่มคน Gen Z ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 16-25 ปี เข้าร่วมตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 112 คน โดยมีทั้งผู้ที่กำลังอยู่ในความสัมพันธ์และเคยอยู่ในความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น คนรัก, มีคนคุย, Friend with Benefits (FWB), One Night Stand (ONS) หรือความสัมพันธ์แบบซับซ้อน (It’s complicated)  โดยมีสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนี้ 

  • เพศชาย จำนวน 24 คน 
  • เพศหญิง จำนวน 70 คน 
  • LGBTQIAN+ จำนวน 17 คน 
  • ไม่ระบุเพศ จำนวน 1 คน 

ผลสำรวจจากคำถาม  ‘ขณะที่อยู่ในความสัมพันธ์ คุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนในหมวดใดเพิ่มขึ้นบ้าง’  โดยผู้ที่ตอบสามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า หมวดที่มีคนเลือกตอบมากที่สุดก็คือ ‘อาหาร’ คิดเป็น 77.7% หรือ 87 คน รองลงมาคือ ‘การเดินทางเพื่อไปพบคนในความสัมพันธ์’ และ ‘ของขวัญ’ ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนจาก 3 อันดับแรกที่มีคนเลือกตอบมากที่สุดนี้ อาจฉายภาพได้ว่าสิ่งที่ Gen Z ให้ความสำคัญในความสัมพันธ์ คือ การรับประทานอาหารร่วมกัน การเดินทางมาเจอหน้ากัน และการมอบของขวัญให้กันและกัน

ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นทั้ง 7 หมวดของ Gen Z เมื่ออยู่ในความสัมพันธ์ ได้แก่

  1. อาหาร : 77.7%
  2. การเดินทาง (เพื่อมาพบคนในความสัมพันธ์) : 62.5%
  3. ของขวัญ : 61.6%
  4. การท่องเที่ยว : 50%
  5. ความบันเทิง : 36.6%
  6. สุขภาพ การดูแลตนเอง : 31.3%
  7. กิจกรรมทางเพศ : 31.3%
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร

30.4ของผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร เป็นเงิน 1,000-1,500 บาทต่อเดือน

ผู้ตอบแบบสอบถาม 30.4% หรือ 34 คน ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหารด้วยกัน เป็นเงิน 1,000-1,500 บาทต่อเดือน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบมีคนรัก 29 คน มีคนคุย 4 คน และ ONS 1 คน อาจอนุมานได้ว่าการรับประทานอาหารด้วยกัน เป็นกิจกรรมที่นิยมสำหรับคนที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบคนรัก ขณะที่ 26.8% มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1,000 บาท รองลงมาคือ 16.1% เพิ่มขึ้น 1,500-2,000 บาท 

3 อันดับกิจกรรมการรับประทานอาหารที่ทำในความสัมพันธ์ ที่ Gen Z เลือกตอบมากที่สุด คือ

  1. รับประทานอาหารมื้อพิเศษตามร้านอาหาร/ห้างสรรพสินค้า : 71.4%
  2. รับประทานบุฟเฟต์ : 56.3%
  3. ซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารร่วมกัน : 35.7%
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางไปพบคนในความสัมพันธ์

31.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปพบคนในความสัมพันธ์ น้อยกว่า 500 บาทต่อเดือน

ผู้ตอบแบบสอบถาม 31.3% หรือ 35 คน ระบุว่าใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปพบคนในความสัมพันธ์ น้อยกว่า 500 บาทต่อเดือน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบมีคนรัก 28 คน มีคนคุย 4 คน ความสัมพันธ์ซับซ้อน 1 คน FWB 1 คน และ ONS 1 คน โดยการเดินทางเป็นค่าใช้จ่ายที่กลุ่ม ONS และ FWB ต้องใช้เพื่อไปพบคนในความสัมพันธ์ ขณะที่ 26.8% มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้น 500-1,000 บาท รองลงมาคือ 20.5% ไม่มีค่าใช้จ่าย 

5 อันดับวิธีการเดินทางที่ Gen Z เลือกใช้มากที่สุด คือ

  1. รถส่วนตัว : 48.2%
  2. รถตู้โดยสารสาธารณะ : 41.1%
  3. รถไฟฟ้า : 40.2%
  4. รถเมล์ : 28.6%
  5. มอเตอร์ไซค์รับจ้าง (วิน) : 22.3%
ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อของขวัญ

34.8% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อของขวัญ 1 ชิ้น เป็นเงินประมาณ 500 -1,000 บาท

ผู้ตอบแบบสอบถาม 34.8% หรือ 39 คน ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อของขวัญ 1 ชิ้น เป็นเงินประมาณ 500 -1,000 บาท ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบมีคนรัก 34 คน มีคนคุย 4 คน และความสัมพันธ์ซับซ้อน 1 คน ขณะที่ 21.4% มีค่าใช้จ่ายในการซื้อของขวัญ 1 ชิ้น เป็นเงินต่ำกว่า 500 บาท รองลงมาคือ 11.6% ไม่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างของขวัญ (ที่แพงที่สุด) ที่ Gen Z มอบให้คู่ของตน

  1. คนรัก
    • สร้อยคอทองคำ ราคา 30,000 บาท
    • สินค้ายี่ห้อ YSL ราคา 15,000 บาท
  2. คนคุย
    • น้ำหอม ราคา 2,850 บาท
    • รองเท้า ราคา 2,000 บาท
  3. ความสัมพันธ์ซับซ้อน
    • น้ำหอม ราคา 1,500 บาท
    • เครื่องเล่นซีดีเพลง ราคา 1,400 บาท
  4. FWB
    • Sex toy เกรดการแพทย์ ไม่ระบุราคา
  5. ONS
    • AirPods ราคา 3,000-4,000 บาท
7 หมวดของขวัญที่ Gen Z นิยมมอบให้คู่ของตน

จากคำถาม ‘กรุณายกตัวอย่างของขวัญที่คุณมอบให้คนในความสัมพันธ์’ ซึ่งผู้ตอบสามารถระบุได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดจำนวนตัวอย่าง ได้คำตอบทั้งหมด 206 ตัวอย่าง สามารถนำมาแบ่งเป็นหมวดของขวัญที่Gen Z นิยมมอบให้คู่ของตนได้ 7 หมวด โดยหมวดที่นิยมให้เป็นของขวัญมากที่สุดคือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 31.1% หรือ 64 ชิ้น รองลงมาคือ เครื่องประดับ สกินแคร์ น้ำหอม 21.8% หรือ 45 ชิ้น ของกิน ขนม 14.1% หรือ 29 ชิ้น ของเล่น ตุ๊กตา 8.3% หรือ 17 ชิ้น ต้นไม้ ดอกไม้ 5.8% หรือ 12 ชิ้น ของทำมือ และอุปกรณ์ไอที จำนวนเท่ากันอย่างละ 5.3% หรือ 11 ชิ้น อื่น ๆ 8.3% หรือ 17 ชิ้น

นอกจากนี้ ในคำถาม ‘ของที่แปลกที่สุดที่คุณเคยได้รับจากคนในความสัมพันธ์คืออะไร’ ยังพบของขวัญที่น่าสนใจที่ Gen Z เลือกมอบให้คนในความสัมพันธ์อีกด้วย เช่น สไลม์, สะดึง, ลูกหิน, กระเป๋าหน้าหมา, สร้อยรูปปลา 2 ตัวจุ๊บกัน, เจลหล่อลื่นและถุงยาง 30 ชิ้น ไปจนถึง ซุปประจำตระกูลที่คุณป้าเป็นคนทำ แล้วบอกว่าคุณป้าทำไม่ค่อยอร่อย

ของที่มีประโยชน์/ไร้ประโยชน์ในความสัมพันธ์

เมื่อถามถึง ‘ของที่ซื้อมาแล้วมีประโยชน์กับคุณและคนในความสัมพันธ์มากที่สุด’ มีผู้ระบุตัวอย่างของมาทั้งหมด 98 ชิ้น สามารถนำมาแบ่งเป็นหมวดของที่มีประโยชน์ในความสัมพันธ์ได้ 9 หมวด โดยหมวดที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ ถุงยางอนามัย เจลหล่อลื่น อุปกรณ์ทางเพศ 20.4% หรือ 20 ชิ้น สำหรับหมวดอื่น ๆ สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 

  1. ถุงยางอนามัย เจลหล่อลื่น อุปกรณ์ทางเพศ : 20.4% 
  2. อุปกรณ์เครื่องครัว ของใช้ในหอพัก : 17.3%
  3. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย : 13.3%
  4. อุปกรณ์ไอที : 12.2%
  5. ของกิน ขนม : 10.2%
  6. เครื่องประดับ : 8.2%
  7. ของสำหรับงานอดิเรก เช่น แผ่นเสียง กล้องฟิล์ม : 6.1%
  8. ตุ๊กตา สัตว์เลี้ยง : 5.1%
  9. อื่น ๆ : 7.1% 

ในด้าน ‘ของที่ซื้อมาแล้วไร้ประโยชน์กับคุณและคนในความสัมพันธ์มากที่สุด’ มีผู้ระบุตัวอย่างของทั้งหมด 55 ชิ้น สามารถนำมาแบ่งเป็นหมวดของที่ไร้ประโยชน์ในความสัมพันธ์ได้ 8 หมวด โดยหมวดที่ไร้ประโยชน์มากที่สุดคือ ตุ๊กตา 23.6% หรือ 13 ชิ้น และหมวดอื่น ๆ สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 

  1. ตุ๊กตา : 23.6%
  2. ดอกไม้ : 21.8%
  3. เครื่องครัว ของใช้ในหอพัก : 16.4%
  4. เครื่องประดับ : 10.9%
  5. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย : 7.3%
  6. ของกิน ขนม : 7.3%
  7. อุปกรณ์ไอที : 7.3%
  8. อื่น ๆ : 5.5%

นอกจากนี้ ยังมีความเห็นส่วนหนึ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามระบุเข้ามา เช่น ‘ของทุกอย่างเราว่ามีค่ากับความทรงจำทั้งหมด ถึงจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ก็ตาม’ และ ‘นึกดูแล้วก็ไม่มี เพราะว่าต่อให้มันมีไว้แค่ตั้งโชว์เฉย ๆ (เช่นพวงกุญแจหรือฟิกเกอร์) ก็มีความทรงจำซ่อนอยู่ในของพวกนั้นแทบทั้งนั้น สุดท้ายมันก็จะมีประโยชน์ มีคุณค่าทางจิตใจอยู่ดี’

ทั้งนี้ จากระยะเวลาการเก็บข้อมูลที่จำกัดและการกระจายของแบบสอบถามที่อยู่ในวงแคบ จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการมีความรักนั้นสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในความสัมพันธ์ของ Gen Z ส่วนมากหรือไม่ แต่การเก็บข้อมูลครั้งนี้ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนภาพของ Gen Z บางส่วนได้ว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างไรบ้างเมื่ออยู่ในความสัมพันธ์

แล้วคุณล่ะ เสียเงินไปกับอะไรบ้างในความสัมพันธ์ ร่วมแชร์ประสบการณ์ค่าใช้จ่ายจากการมีความรัก ฉบับ Gen Z ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Varasarnpress

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
3
Love รักเลย
4
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Lifestyle

Writings

Girls And Boys by Jenny Han เด็กหนุ่มเด็กสาวในแบบฉบับของเจนนี่ ฮานส์

เขียน : จิรัชญา นุชมี ภาพ : จิรัชญา นุชมี และ ศิรประภา ศรีดาจันทร์ หากใครเป็นสาวกซีรีส์ฝรั่งก็คงจะเคยได้ยินชื่อ To All The ...

Writings

เมื่อมาตรฐานผู้ตัดสินและVAR กำลังทำลายมนต์ขลังแห่งวงการลูกหนังพรีเมียร์ลีกอังกฤษ

เขียน : กัญญพัชร กาญจนเจตนี และ ธนพ อัมพะวัต ภาพ : ศิรประภา ศรีดาจันทร์ เป็นอีกครั้งที่ระบบ VAR และมาตรฐานผู้ตัดสินฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ (Premier ...

Writings

โบกมือลา Pick Me Girl เข้าสู่ยุค Girl’s Girl 

เขียน               สมิตา พงษ์ไพบูลย์ ภาพ                ศิรประภา  สีดาจันทร์ ชายแท้ เป็นคำเรียกที่เพศชายรู้สึกไม่พอใจ แต่ก่อนหน้านั้น ฝั่งผู้หญิงเองก็มีวลี Pick Me Girl (พิคมีเกิร์ล) ซึ่งโด่งดังจากการนิยามผู้หญิงที่มีลักษณะต้องการความสนใจจากเพศชาย อย่างรูปด้านล่าง เป็นไอคอนพิคมีเกิร์ล หรือเจ้าของวลีเด็ดที่ว่า  “Pick me, ...

Writings

รำคาญเรื้อรัง เสียงดังในเมืองใหญ่

เรื่องและภาพ : กัญญาภัค วุฒิรักขจร เสียงบิดมอเตอร์ไซค์บนท้องถนน เสียงเร่งเครื่องรถยนต์ยามราตรี อาจจะเป็นเสียงที่คุ้นเคยสำหรับคนที่อยู่ในบ้านติดถนนใหญ่ และคิดว่าไม่แปลกอะไรที่เสียงพวกนี้จะรบกวนชีวิตของเราสักหน่อย แต่ใครจะรู้ บางทีนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยเวลาตื่นในตอนเช้า เพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอก็ได้ วันนี้วารสารเพรสอยากชวนคุณมาสำรวจมลพิษทางเสียงในเมืองใหญ่ เสียงดังที่เกิดขึ้นแท้จริงส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร แล้วภาครัฐมีส่วนแค่ไหนในการลดมลพิษที่เกิดขึ้น ไถหน้าจอลงไปอีกหน่อย ...

Lifestyle

ปัญหา 107 ปี ของรถไฟไทยและการเปลี่ยนแปลงใหม่ของระบบการจัดการปัญหาของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

เรื่อง : จิตริณี แก้วใจ ภาพ : จิรัชญา นุชมี ปัญหาเกี่ยวกับระบบของรถไฟไทยนั้น สั่งสมมานานพอ ๆ กับอายุ 107 ปี ของสถานีรถไฟหัวลำโพง ...

Writings

DLIF ใครใคร่แก่ใคร่ แก่ใคร่เด็ก-ไม่ มุมมองความหวามผ่านบทเพลง

เรื่อง : สมิตา พงษ์ไพบูลย์ ภาพ : จิรัชญา นุชมี คำเตือน: โปรดมีวิจารณญาณในการอ่าน มีเนื้อหาและภาษาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี Daddy มีหลายความหมาย ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save