LifestyleWritings

กว่าจะมาเป็น ‘ติ่ง’

เรื่อง: เก็จมณี ทุมมา

ติ่ง

“อปป้า ซารางเฮโย”

ท่ามกลางสนามบินอันเต็มไปด้วยผู้คนจากหลากหลายที่มา มีคนกลุ่มหนึ่งรวมกันเป็นกลุ่มก้อนโดยไม่ได้นัดหมาย มีสัญลักษณ์บางอย่างที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นป้ายไฟ แท่งไฟ กล้อง ตุ๊กตา รูปศิลปิน และเสียงกรี๊ด

คุณเคยเห็นป้ายสุขสันต์วันเกิดของใครก็ไม่รู้ตามสถานีรถไฟฟ้าหรือไม่ 

เคยเห็นภาพคนจำนวนมากต่อแถวยาวเหยียดตั้งแต่เช้ามืดเพื่อรอซื้อตั๋วคอนเสิร์ตหรือเปล่า

คุณเคยสงสัยในการกระทำของคนเหล่านี้ไหม กลุ่มคนที่ถูกเรียก หรือบางครั้งก็เรียกตัวเองว่า ติ่งเกาหลี ผู้ซึ่งรักและหลงใหลในศิลปินเกาหลี ชื่นชอบและติดตามอุตสาหกรรมเพลงของเกาหลีใต้ หรือ เคพอป (K-pop)

ความทรงจำแรกเกี่ยวกับเคพอปของฉันน่าจะย้อนกลับไปราวปี 2009 ช่วงที่เพลง Nobody ของวงเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีที่ชื่อ วันเดอร์เกิลส์ (Wonder Girls) กำลังดังเป็นพลุแตก สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจคงเป็นความพร้อมเพรียงของการเต้นและทำนองเพลงที่ติดหู

หลังจากกระแสวัฒนธรรมเกาหลีเข้ามาในไทยอย่างต่อเนื่อง กำเนิดศิลปินหน้าใหม่มากหน้าหลายตา ต่างคนก็ต่างเลือกติดตามไปตามสไตล์ความชอบของแต่ละคน

ฉันที่เติบโตขึ้นมากับสิ่งนี้จึงได้กลายเป็น ติ่ง อย่างจริงๆ จังๆ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าจุดเริ่มต้นการเป็นติ่งของฉันมาจากหน้าตาและรูปลักษณ์ภาพนอกของศิลปิน อย่างที่คนส่วนหนึ่งในสังคมคิดว่าติ่งเกาหลีบูชาศิลปินเพียงเพราะหน้าตา

คำถามที่ว่าเป็นติ่งแล้วได้อะไร ถ้าเป็นแต่ก่อนฉันคงตอบว่าได้ความสุข เพียงแค่เห็นหน้าตายิ้มแย้มของพวกเขาจากในอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ยิ้มออกมาได้

แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งในช่วงที่ฉันกำลังสับสนกับทางเดินในชีวิต ที่เมื่อเล่าให้ใครฟัง กลับรู้สึกว่าเขาไม่มีทางเข้าใจและอาจไปทำให้เขารำคาญใจเปล่าๆ สุดท้ายจึงเลือกที่จะไม่เล่าให้ใครฟังอีก แล้วนั่งอยู่กับตัวเองในความมืด

ในช่วงเวลาที่เลวร้าย คนอื่นๆ ผ่านช่วงเวลาอันแสนยากลำบากนั้นมาได้อย่างไร ในตอนนั้นด้วยความบังเอิญทำให้ฉันได้ไปรู้จักเพลงที่ชื่อว่า Magic Shop ของบอยแบนด์เกาหลีชื่อ  บีทีเอส (BTS)

ระหว่างที่กำลังอ่านความหมายของเพลง พร้อมกับฟังไปด้วย จนไปถึงท่อนที่มีความหมายว่า

“ในยามที่ผมเกลียดความเป็นตัวเอง วันที่ผมอยากหายไปให้พ้นๆ ผมได้สร้างประตูบานหนึ่งไว้ในหัวใจคุณ ผมจะรออยู่ในนั้นเสมอ แค่คุณเปิดประตูนั้นแล้วเดินเข้าไป” 

ประโยคสั้นๆ นี้กลับทำให้ฉันรู้สึกไม่โดดเดี่ยว ไม่ใช่ฉันคนเดียวที่กำลังเกลียดตัวเอง และอยากหายไปให้พ้นๆ การสร้างประตูไว้ในหัวใจอาจเป็นการเปรียบเปรยของศิลปินว่า “คุณ” ซึ่งในที่นี้คือแฟนคลับเป็นกำลังใจให้เขา ในขณะเดียวกันเขาก็จะคอยเป็นกำลังใจให้แฟนคลับของเขาเช่นกัน 

อยู่ๆ น้ำตาของฉันก็ไหลออกมา และนั่นเป็นครั้งแรกที่ฉันฟังเพลงแล้วร้องไห้ แม้ว่าเพลงนั้นจะเป็นเพลงที่ฉันฟังไม่ออกหากไม่อ่านความหมายก็ตาม

เคยได้ยินว่าเพลงเป็นภาษาสากลที่ถึงจะฟังไม่ออก แต่กลับสัมผัสได้ถึงความรู้สึก

ความรู้สึกที่ฉันได้รับจากเพลงในครั้งนั้นคือความอบอุ่น เหมือนมีเพื่อนคนหนึ่งอยู่ข้างๆ ทุกครั้งที่กลับมารู้สึกโดดเดี่ยว ฉันจะเปิดเพลงนี้ให้ตัวเองฟังแล้วค่อยๆ ลุกขึ้นมาใหม่

ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งใกล้ตัวและดูไม่น่าจะช่วยอะไรเราได้ กลับกลายเป็นสิ่งที่ช่วยพยุงฉันขึ้นมาจากความมืดมิดนั้น

หลังจากวันนั้นการติ่งของฉันก็เปลี่ยนไป ทั้งคุณค่าที่ให้ไปและคุณค่าที่ได้รับ

รอบตัวของฉันมีคนที่เป็นติ่งเกาหลีหลายคน บางคนนั้นยกให้ศิลปินเป็นไอดอล หรือแบบอย่างในชีวิต บางคนชอบนิสัยและการแสดงออกของศิลปิน บางคนชื่นชมความสามารถและพร้อมจะสนับสนุนผลงาน บางคนชอบที่หน้าตาล้วนๆ บางคนเปิดเผยและบางคนไม่เปิดเผยว่าตัวเองเป็นติ่ง

หลากความชอบ หลายที่มา คงไม่ผิดถ้าเราจะหลงใหลในบางสิ่งที่ไม่ต่างจากคนอื่น และคงไม่ผิดที่มีทั้งคนที่เข้าใจและไม่เข้าใจ นั่นขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคน ซึ่งเราคงไม่สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งที่เขาชอบนั้นไร้สาระ เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมีค่าสำหรับเขาแค่ไหน

ถ้าสิ่งที่คุณชอบนั้น ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน คุณน่าจะเก็บมันไว้เป็นที่พึ่งยามเหนื่อยล้า ให้สิ่งเหล่านั้นเป็นเพื่อนลับๆ ในยามที่ไม่มีใครได้นะ

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

More in:Lifestyle

Writings

ร้านกาแฟในบทบาทผู้ส่งเสริมการท่องเที่ยว

เรื่อง : มานิตา คิดนุนาม ภาพ : มานิตา คิดนุนาม ในปัจจุบัน การไปเที่ยวสำหรับคนบางกลุ่มไม่ใช่การไปยังสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ไปสวนสนุก หรือไปชื่นชมธรรมชาติเพียงเท่านั้น เพราะตั้งแต่มีวัฒนธรรมการนำ “ร้านกาแฟ” มาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ...

Lifestyle

จะตายตอนไหน ยังไง เมื่อไหร่ ไม่มีใครทราบ งั้นเรามาเตรียมตัวก่อนจะถึงเวลานั้นดีไหม

เรื่อง: พรรณรมณ ศรีแก้ว ภาพ: ปาณัสม์ จันทร์กลาง ถ้าพูดถึงคนที่ตายโดยธรรมชาติ ภาพที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คงเป็นภาพคนวัยชราที่นอนหลับไป ไม่ใช่ภาพของวัยรุ่นหรือเด็กๆ และสมมติถ้าเราตายในวัยยี่สิบ ก็คงหนีไม่พ้นวลี ‘จากไปก่อนเวลาอันควร’ นั่นชวนตั้งข้อสงสัยว่าคนเรามีช่วงอายุที่เหมาะสมแก่การตายด้วยหรือ แล้วอายุเท่าไหร่ถึงจะเหมาะ เพราะเราไม่รู้เคยว่าจะตายตอนไหน ...

Writings

Art Therapy: อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการระบายความรู้สึกผ่านงานศิลปะ

เรื่องและภาพ: ฌัชฌา สรนันท์ เมื่อเติบโตขึ้น ความเครียด ความกดดัน และภาระที่ต้องแบกรับก็มากขึ้นตามวัย ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคนที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกหม่นเศร้า และความอึดอัดที่อยู่ส่วนลึกของจิตใจ หนำซ้ำการพูดคุยกับใครสักคนก็อาจเป็นเรื่องยาก เพราะคนรับฟังอาจไม่เข้าใจความรู้สึกของเราได้ทั้งหมด หรือจะเป็นการถูกตัดสินจากคนภายนอก  และทำให้โดนปฏิบัติในทางที่ไม่เหมือนเดิม ศิลปะบำบัด หรือ Art Therapy จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้นภายในจิตใจได้ ศิลปะบำบัด ...

Writings

สำรวจรูปแบบความสัมพันธ์และพื้นที่ปลอดภัยในธรรมศาสตร์และการดีล

TW : Sexual Harassment คุกคามทางเพศ เรื่องและภาพ : ปาณิสรา ช้างพลาย ‘นัดดีล’ คือการหาความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัดต่างๆ ชวนคนมาทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน โดยอาจจะมีเรื่องเพศหรือไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้  ‘ธรรมศาสตร์และการดีล’ คือกลุ่มไลน์ OpenChat ที่มีสมาชิกอยู่สูงสุดถึง 5,000 คน และมีจุดประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ในการนัดดีล ซึ่งมีทั้งคนที่เข้ามาเพื่อมองหาความสัมพันธ์ที่ตอบโจทย์กับตนเอง คนที่เข้ามาอ่านเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว ...

Lifestyle

Office Syndrome: ผลเสียจากการเรียนออนไลน์ที่ยังแก้ไม่หาย พร้อม 5 วิธีคลายเมื่อยสำหรับชาวมธ.

เรื่อง : ฌัชฌา สรนันท์ ภาพ : ปาณิสรา ช้างพลาย โรงอาหารที่มีคนต่อแถวเรียงราย หอสมุดที่เต็มไปด้วยนักศึกษามานั่งติวหนังสือ และบรรยากาศในห้องเรียนที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทุกอย่างกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว หลังจากเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนมหาวิทยาลัยต้องประกาศให้นักศึกษาและอาจารย์ทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์อยู่ที่บ้านนานถึง 2 ปี  เชื่อว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาเองต่างก็ได้รับผลกระทบจากการเพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไอแพด หรือสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานาน ...

Lifestyle

เบื้องหลังความเชื่อ และคำทำนาย: บันทึกลับฉบับ เด็ก Gen Z

เรื่องและภาพประกอบ : ปาณิสรา ช้างพลาย Varasarnpress ชวนคุณมาเปิดบันทึกลับ ฉบับ Gen Z ถึงมุมมองที่มีต่อการ “ดูดวง” ว่าเบื้องหลังความเชื่อ และคำทำนายต่าง ๆ นั้น อะไรคือสิ่งที่ทำให้การดูดวงเป็นที่นิยมในหมู่ Gen Z ตั้งแต่วัยมัธยม ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save