SocialWritings

ถ้าพ่อแม่กลายเป็นคนแปลกหน้า : เมื่อความสัมพันธ์ต้องมาพังทลายเพราะการเมือง

เรื่อง: จักษณา อุตราศรี

จากหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองที่ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น การจัดประท้วงตามโรงเรียนมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย ไปจนถึงการพูดคุยประเด็นสังคมและการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมืองของเหล่านักเรียนและนักศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นภายหลังจากที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ดูเหมือนว่า การตื่นตัวในครั้งนี้ ก็มีราคาที่ต้องจ่าย เมื่อความคิดที่พวกเขามีนั้นขัดกับความคิดของผู้ปกครอง

ปัญหาความสัมพันธ์จากการแบ่งขั้วทางการเมืองไม่ใช่เรื่องใหม่ หากย้อนกลับไปดูสภาวะทางการเมืองในประเทศซึ่งมีการแบ่งฝักฝ่ายอยู่ตลอดเวลา เช่น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อเหลือง) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือเสื้อแดง) และกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ซึ่งขับเคลื่อนให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ส่วนมากมักมาจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน

มีตัวอย่างจากบทสัมภาษณ์ของ The Matter  ที่นายกรุณพล เทียนสุวรรณ หรือเพชร ดารานักแสดงในวงการบันเทิง เล่าว่าเขาเลือกที่จะชักชวนคนให้ออกไปเลือกตั้งในช่วงปีพ.ศ.2557 แทนการขัดขวางการเลือกตั้ง แตกต่างกับคนรอบตัวเขาที่อยู่ในกลุ่มกปปส. จนทำลายความสัมพันธ์ที่มีกับคนอื่นๆ

ส่วนกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาบางส่วน มีความคิดที่แตกต่างจากแนวคิดแบบเดิม จากการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องทรงผมและเครื่องแบบนักเรียน และการกล้าที่จะพูดถึงเรื่องการเมืองและสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมามากขึ้น ซึ่งความคิดเห็นในลักษณะนี้ทำให้บางครอบครัวเกิดการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างกัน

ผลสำรวจของสวนดุสิตโพลรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมของนักศึกษา จำนวน 1.97 แสนคน ผ่านการสำรวจทางออนไลน์ในระหว่างวันที่ 16-21 สิงหาคม พ.ศ.2563 ที่ถึงแม้ผลปรากฏว่า ‘เป็นการเรียกร้องตามระบอบประชาธิปไตย’ จะมาเป็นอันดับ 1 แต่การที่ ‘ต้องไม่จาบจ้วงสถาบัน’ และ ‘สร้างความวุ่นวาย / แตกแยก’ อยู่เป็นอันดับ 2 และ 7 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าคนจำนวนหนึ่งในสังคมไม่เห็นด้วยในสิ่งที่เยาวชน มีมุมมองทางการเมืองว่าห้ามแตะต้องสถานบัน และต้องไม่กระทำความรุนแรง

แนวคิดที่แตกต่างกันนี้ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันแม้แต่ระหว่างพ่อแม่กับลูก จนส่งผลถึงความสัมพันธ์ที่มีอยู่ เช่นเดียวกับที่นายเอและนางสาวพีกำลังเผชิญอยู่

นายเอและนางสาวพี (นามสมมติ) ตัวแทนนักเรียนกลุ่ม ‘บอดินไม่อินเผด็จการ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักเรียนที่ออกมาเรียกร้องต่อกระทรวงศึกษาธิการให้ปฏิรูประบบการศึกษา ทั้งสองมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเมื่อออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ 

นายเอกล่าวว่าพ่อแม่ของเขาไม่รู้ว่าเขาทำกิจกรรมทางการเมืองจนกระทั่งเห็นรูปที่เขาขึ้นปราศรัยบนเวทีในการชุมนุม ก่อนขอร้องให้หยุดทำกิจกรรมเพราะกลัวมีอันตรายและอยากให้สนใจเรื่องการเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่า

“พ่อแม่ก็จะพูดว่า ‘ถ้าไปแล้วเขาเกิดสลายการชุมนุม ถ้าไปแล้วนู่นนี่นั่นล่ะ’ บางครั้งก็คิดในใจ ว่าสิ่งที่เขาควรจะพูดคือเขาต้องไปพูดไม่ให้ตำรวจและทหารทำแบบนั้น ไม่ใช่พูดให้ประชาชนไม่ไปชุมนุม” นายเอกล่าว

ในส่วนของนางสาวพีที่ถึงแม้ว่าพ่อแม่ของเธอจะเข้าใจเรื่องการออกมาเรียกร้องสิทธิของพวกเขา แต่ก็พบปัญหาเดียวกับนายเอ คือพ่อแม่นั้นกังวลว่าหากทำกิจกรรมทางการเมืองแล้ว ผลการเรียนจะตกต่ำลงและควรตั้งใจเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากกว่ามาทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งเธอมองว่าสามารถทำไปพร้อมกันได้ “เราก็ไม่สามารถเมินเฉยในสิ่งที่เจอในทุกวัน เห็นสภาพเศรษฐกิจ เห็นสภาพการศึกษา ตลอดเวลาที่เราเรียนมามันแย่ เราอยากจะเปลี่ยนแปลงมันไม่มากก็น้อย”

พวกเขาเห็นพ้องต้องกันว่าสาเหตุที่พ่อแม่ของพวกเขากลัวและกังวลมาจากเหตุการณ์ในอดีตที่สอนว่าหากออกมาเรียกร้องสิทธิจะเกิดอะไรขึ้น เช่น แปะป้ายเป็นว่าพวกหัวรุนแรง โดนทำร้ายร่างกาย ไปจนถึงเสียชีวิต

หากแต่พวกเขาก็คิดว่าถ้าไม่ออกมาเรียกร้อง ก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

“เขาอาจจะบอกว่า มันยังมีเวลาเรียกร้องมากกว่านี้เยอะ ไม่จำเป็นต้องทำตอนนี้หรอก แต่คือการเพิกเฉยตอนนี้มันไม่ได้ช่วยอะไร มันก็กลายเป็นว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย” นางสาวพีกล่าว

เมื่อถามว่าการสูญเสียความสัมพันธ์กับคนโดยรอบเป็นราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่ นายเอมองว่าทุกอย่างมีราคาที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะพูดหรือไม่พูดก็ตาม “ราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการไม่พูดคือต้องอยู่กับอะไรแบบนั้นต่อไปโดยที่เราทำอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าเราลุกขึ้นมาพูด มันก็มีความเสี่ยง มีราคาที่จะต้องจ่ายว่าเรามีปัญหากับคนนู้นกับคนนี้  ซึ่งก็ต้องยอมรับตรงนี้”

ในตอนนี้ทั้งสองจึงมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับเหล่าเครือญาติซึ่งมองว่าพวกเขาถูกชักจูงจากนักการเมืองหลังออกมาพูดในเรื่องการเมือง

สิ่งที่นายเอกับนางสาวพีประสบพบเจออาจจะยังไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับทีมงานในกลุ่มนักเรียนเลว ซึ่งเป็นกลุ่มแกนนำจัดกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ เกี่ยวกับเด็กนักเรียน โดยกลุ่มนักเรียนเลวได้ออกมาเล่าผ่านทวิตเตอร์ของกลุ่มว่าทีมงานหลายคนต้องเจอกับคำขู่จากผู้ปกครองว่าจะตัดพ่อตัดแม่ ไม่ให้เงินใช้ หรือแม้กระทั่งไล่ออกจากบ้าน

แล้วหากลองมองในมุมมองของผู้ใหญ่บ้างละ

นายที (นามสมมติ) คุณพ่อที่มีลูกสาวอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเคยเข้าร่วมฟังการชุมนุมของทุกฝ่าย ได้บอกเล่าถึงมุมมองของเขาเกี่ยวประเด็นปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

นายทีเชื่อว่าสาเหตุที่ผู้ปกครองหลายคนมีปฏิกิริยาที่รุนแรงเมื่อลูกออกมาพูดหรือแสดงออกทางการเมือง เนื่องจากพวกเขาคิดว่าเมื่อพูดคุยดีๆ แล้วไม่สามารถห้าม จึงต้องใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อให้ลูกกลัว ประจวบกับความกลัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงในอดีตว่าจะเกิดขึ้นกับลูก “แต่ลูกน่ะ เขาไปเจอโลกข้างนอกแล้ว มันไกลไปจากสถานการณ์ในครอบครัวไปแล้ว เขาก็จะไม่ฟัง”

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า ในเรื่องนี้ เขามองว่าฝ่ายผู้ปกครองเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากเด็กนั้นยังมีประสบการณ์น้อยกว่า ผู้ปกครองซึ่งมีประสบการณ์มากกว่าควรจะใจเย็นมากกว่าจะใช้อารมณ์รุนแรง

ในขณะที่ครอบครัวที่มีปัญหาความสัมพันธ์จนถึงขั้นตัดขาดกันเพราะเรื่องทางการเมือง นายทีกล่าวว่าครอบครัวที่มีปัญหานี้ ต่อให้เป็นเรื่องอื่นก็มีสิทธิ์มีปัญหาได้ด้วยพื้นฐานความขัดแย้งที่มีอยู่มาก่อนหน้านั้นมากกว่าที่จะมามีปัญหาเพราะเรื่องการเมืองอย่างเดียว

“ถ้าเป็นครอบครัวที่คุยกันทุกเรื่อง พอถึงจุดๆ หนึ่ง ที่แม้จะเป็นเรื่องการเมือง เขาก็ต้องคุยปรับความเข้าใจกัน เพื่อไม่ให้ช่องว่างของครอบครัวมันแย่ไปกว่านี้” นายทีกล่าว

ส่วน รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงปัญหาเรื่องนี้ว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน อีกทั้งลักษณะความสัมพันธ์ของครอบครัวแต่ละครอบครัวก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด จึงไม่มีวิธีที่ตายตัวในการแก้ปัญหา 

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์กล่าวว่า สาเหตุของปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือทั้งสองฝ่ายไม่พยายามทำความเข้าใจความคิดที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ เแล้วเมื่อแต่ละฝ่ายค้นพบว่าคนที่ใกล้ชิดกับตนเองคิดไม่เหมือนกับตนก็จะรู้สึกเสียใจ “เรามักจะเสียความรู้สึกเมื่อเพื่อนที่สนิทกับเรา คนที่รักเราคิดไม่ตรงกัน ศัตรูคิดไม่เหมือนคุณ คุณคิดอยู่แล้ว ‘มึงคิดไม่เหมือนกูแน่’ คุณก็เลยไม่ได้อะไร จึงอยากจะชวนให้คิดให้ซับซ้อน ว่าทั้งฝั่งเด็กและฝั่งพ่อแม่ของเด็กมันมีฐานให้เสียใจได้ทั้งคู่” 

สิ่งนี้ตรงกับทฤษฎีแห่งความสมดุล (Balance Theory) ของฟริทซ์ ไฮเดอร์ (Fritz Heider) นักจิตวิทยาสังคม จากหนังสือ The Psychology of Interpersonal Relations เมื่อปีค.ศ. 1958 ซึ่งอธิบายว่าบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อกัน เนื่องจากความคล้ายคลึงกันทางด้านความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคดติ โดยมีพื้นฐานว่ามนุษย์ชอบความสอดคล้องกันมากกว่าความไม่สอดคล้อง

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์อธิบายต่อว่า บ่อยครั้งความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่นั้นถูกทำลายลงเพียงเพราะการแบ่งแยกขั้วทางการเมือง ดังนั้นสิ่งที่เธอเน้นย้ำมากที่สุดในเรื่องนี้คือต่างฝ่ายต่างควรเปิดใจรับฟังความคิดที่แตกต่างจากตัวเอง ทั้งจากฝั่งลูกและฝั่งพ่อแม่

“เวลามันมีความขัดแย้ง มนุษย์เห็นต่างเป็นเรื่องธรรมดา คุณต้องทำความเข้าใจคนทั้งสองฝ่าย ถ้าโจทย์ของคุณ กำลังพูดถึงพ่อแม่กับลูก คุณอย่ามองฝั่งเดียว พยายามเข้าใจคนทั้งสองฝั่ง แล้วคิดว่าทั้งหมดนี้มันมีสาเหตุจากอะไร แล้วทางออกมันควรจะทำยังไง ทางออกซึ่งก็ไม่ใช่ทางออกสำเร็จรูปที่ทุกคนจะทำตามได้ แต่จะเป็นทางออกที่เป็นของใครของมัน” รศ.ดร.ชลิดาภรณ์กล่าว

ในปัจจุบันที่ขั้วทางการเมืองแบ่งแยกขึ้นอย่างชัดเจน และต่างฝ่ายต่างเชื่อว่าความคิดเห็นของตนเองนั้นถูกต้องที่สุด มันจึงกลายมาเป็นสงครามทางความคิดระหว่าง’คนรุ่นก่อน’กับ’คนรุ่นหลัง’ ที่พร้อมสละทุกอย่างเพื่อดึงให้อีกฝ่ายเห็นด้วยในความคิดหรือทำให้ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ที่สุดในสังคม

จนอาจยอมสละความสัมพันธ์ที่ก่อร่างขึ้นมาก่อนขั้วการเมืองบางขั้วจะมีขึ้นเสียอีก ซึ่งในอนาคตทั้งสองฝ่ายอาจรู้สึกเสียใจกับการเลือกในครั้งนี้

แต่ถ้าหากไม่อยากสูญเสียความสัมพันธ์นี้ไป บางทีการเปิดใจรับฟังความคิดที่แต่ละฝ่ายดูจะเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษามันไว้  เพราะการกระทำบางอย่างอาจไม่ได้มาจากสาเหตุที่คิดไว้ ให้เยาวชนได้คิดว่าพ่อกับแม่อาจไม่ได้หัวโบราณและสนับสนุนเผด็จการ ในขณะที่พ่อกับแม่เองก็อาจเข้าใจถึงสาเหตุในการออกมาเรียกร้องสิทธิของเยาวชนมากขึ้น ไม่ใช่เพราะเยาวชนนั้นหัวรุนแรงและถูกชักจูงอย่างเดียว

Source

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/WEB/survey-result/2666/

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

1 Comment

  1. Can you be more specific about the content of your article? After reading it, I still have some doubts. Hope you can help me.

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

More in:Social

Writings

สำรวจความสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงค่านิยมแบบไท๊ย ไทย ที่ทำให้วัตถุสนองความอยากทางเพศ ถูกปฏิเสธการมีอยู่

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: นภัสสร ยอดแก้ว จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมาสักระยะ ผู้เขียนพบสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ ‘การเปิดเผยเรื่องทางเพศอย่างตรงไปตรงมา’ จากเดิมที่แค่พูดแตะๆ เรื่องใต้สะดือก็มีสิทธิ์โดนแบนได้ง่ายๆ ตอนนี้กลับสามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ประสบการณ์เซ็กซ์ การบอกเทคนิคลีลาเด็ดมัดใจคู่นอนในโลกโซเชียล ...

Writings

เพราะธรรมศาสตร์ (แฟร์) สอนให้ฉันรักสัตว์?

เรื่อง : ปิยะพร สาวิสิทธิ์ ภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, วรพร รุ่งวัฒนโสภณ และ สิทธิเดช สายพัทลุง หลายคนคงทราบกันว่าช่วงวันที่ 18 ...

Writings

“ไม่มีใครเก่งเท่าเธอแล้ว” ว่าด้วยนิยามผู้หญิงเก่งในสายตาของแต่ละคน Part 1

เรื่องและภาพ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ, ปิยะพร สาวิสิทธิ์, สิทธิเดช สายพัทลุง และ อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์  วลี ‘ไม่มีใครเก่งเท่าแม่มึงแล้ว’ ชวนให้กองบรรณาธิการของเราตั้งคำถามว่า เราสามารถนิยาม ...

Writings

“รถ Feeder” เส้นเลือดฝอยที่สำคัญต่อคนเมืองไม่แพ้เส้นเลือดใหญ่

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย ถ้าหากคุณเคยมากรุงเทพฯ โดยเฉพาะในย่านชุมชนที่พักอาศัย เชื่อว่าคุณอาจเคยเห็นรถสองแถวหรือรถเมล์คันเล็ก วิ่งอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้บ้าง แม้จะดูไม่โดดเด่นเท่ารถเมล์คันใหญ่ที่วิ่งไปมา แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมถึงพบรถเหล่านี้ได้ตามย่านชุมชนเกือบทุกที่เลย มันมีความสำคัญอย่างไรกัน บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘รถ Feeder’ ระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ลึกที่สุด ...

Writings

เมื่อความรักไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของคนสองคน แต่เป็นหลายคนก็ได้

เรื่อง : สายฝัน สวาดดี ภาพประกอบ : เก็จมณี ทุมมา ในสังคมไทย เราเคยชินกับวัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียว หมายความว่าการมีหลายผัวมากเมียถือเป็นการทำผิดศีลธรรม จนไปถึงผิดกฎหมายเลยทีเดียว แต่ในโลกปัจจุบันที่ความหลากหลายได้รับการยอมรับมากขึ้น จึงอยากแนะนำให้ได้รู้จักกับ Polyamory ...

Writings

“สัตว์ในสงคราม” ว่าด้วยบทบาทผู้ช่วยเหลือของ “สัตว์สงคราม”

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ แทบทุกหน้าประวัติศาสตร์อันว่าด้วยสงคราม มักปรากฏภาพมนุษย์ฆ่าฟันกันเอง จึงอาจไม่ผิดนักหากจะนิยามมนุษย์ว่าเป็น “สัตว์สงคราม”  หากแต่เราก็มิใช่สัตว์เพียงเผ่าพันธุ์เดียวในสนามรบ เพราะเราดึงเพื่อนร่วมโลกต่างเผ่าพันธุ์เข้ามาเกี่ยวในสมรภูมินี้ด้วย เมื่อการต่อสู้จบลง มนุษย์ก็สร้าง “วีรชนสงคราม” ขึ้นมา เราเชิดชูและบันทึกพวกเขาไว้บนหน้าบทเรียนประวัติศาสตร์ ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save