Art & Culture

The Boy, the Mole, the Fox and the Horse ภาพยนตร์สั้นอนิเมชั่นยอดเยี่ยม ผลงานของโปรดิวเซอร์ที่ไม่เคยทำภาพยนตร์และนักเขียนขี้อายที่แอบอยู่ในห้องน้ำออสการ์

เรื่องโดย จิรัชญา นุชมี

ภาพโดย จิรัชญา นุชมี

‘The Boy, the Mole, the Fox and the Horse and the Oscar’ คือสิ่งที่แอคเคาท์ทวิตเตอร์ออฟฟิเชียลของ Apple TV ทวิต หลังจากที่อนิเมชั่นเรื่อง The Boy, the Mole, the Fox and the Horse คว้ารางวัลภาพยนตร์สั้นอนิเมชั่นยอดเยี่ยมไปครอง 


ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายในชื่อเดียวกัน ซึ่งถูกเขียนขึ้นโดย ชาร์ลี แมคเคซี (Charlie Mackesy) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กชายที่ตามหาบ้าน โดยมีเพื่อนที่ประกอบไปด้วย ตัวตุ่น สุนัขจิ้งจอก และม้า คอยช่วยเหลือ

พล็อตและตัวละครที่มองเผิน ๆ อาจดูเป็นภาพยนตร์สำหรับเด็ก  แต่เนื้อหาข้างในกลับความลึกซึ้งและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนเรา ‘เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด’ เนื้อเรื่องยังเล่าถึงมิตรภาพที่ดี การมองเห็นความงดงามของชีวิต และความหมายของคำว่า ‘บ้าน’ ที่อาจไม่ได้หมายความถึงสถานที่เพียงอย่างเดียว          

ชาร์ลี แมคเคซีย์ (Charlie Mackesy) นักเขียน ได้โพสต์รูปลายมือเขียนด้วยปากกาบนกระดาษทิชชู่ลงบนอินสตาแกรมส่วนตัว โดยมีข้อความว่า 

“สวัสดี ผมกำลังแอบอยู่ในห้องน้ำที่ออสการ์” โดยเขาไม่รู้เลยว่าในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา เขาจะได้ขึ้นไปอยู่บนเวทีประกาศรางวัลอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ในฐานะผู้ชนะภาพยนตร์สั้นอนิเมชั่นยอดเยี่ยม

นอกจากนักเขียน ความน่าสนใจของภาพยนตร์สั้นอนิเมชั่นเรื่องยังอยู่ที่  แมทธิว ฟรอยด์ (Matthew Freud) โปรดิวเซอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งไม่เคยทำภาพยนตร์มาก่อน แต่เพราะมีทีมงานที่ช่วยเหลือกันอย่างแข็งขันและได้แรงสนับสนุนอย่างดีจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ฝ่ายดนตรีตลอดไปจนถึงฝ่ายวาดและผู้กำกับภาพ เรื่องราวที่สวยงามและลึกซึ้ง จึงได้รับการกลั่นกรองออกมาและสร้างให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มอบความสุขและแง่คิดให้กับผู้ที่รับชม จนคว้าชัยชนะมาได้อย่างสมศักดิ์ศรี   

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

Art & Culture

ทักษะ ความพยายามของนักวาด ที่กำลังถูกช่วงชิงไปด้วย AI Artist

เรื่องและภาพ: ปาณัสม์ จันทร์กลาง ตอนเด็กๆ ผมเป็นคนที่วาดรูปไม่เก่งเอาเสียเลย ถึงจะมีภาพอยู่ในหัว แต่ก็ไม่สามารถถ่ายทอดมันออกมาเป็นรูปภาพได้เท่ากับที่จินตนาการไว้ แต่ผมไม่คิดเลยว่าในวันนี้ผมจะทำได้ เลื่อนเมาส์ พิมพ์คีย์บอร์ด กด Enter! แล้วลุกไปยืดเส้นยืดสายสักหน่อยพอให้หายเมื่อย . . ...

Art & Culture

รู้จักกับ Fleabag และ Truman: 2 ตัวละครที่ตั้งคำถามกับ ‘การมีชีวิตอยู่’ ไม่ต่างจากคนดู

เรื่องและภาพ : ณัฐกมล สิทธิวงศ์ หมายเหตุ : มีการสปอยล์เนื้อหาของซีรีส์และภาพยนตร์ที่นำมาเล่า จากที่ต้องตื่นไปมหาวิทยาลัยทุกเช้า วันหนึ่งกลับรู้สึกขึ้นมาว่าสิ่งที่เรียนอยู่ช่างไร้ความหมาย  รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องทำงานหนักเพราะรู้ว่าคงไม่มีเวลาว่างไปใช้เงินเพื่อหาความสุข หรือตามหาความฝัน ได้แต่ครุ่นคิดถึงสิ่งที่ยังไม่เคยทำในชีวิต ทั้งที่เรามีโอกาสตายเมื่อไหร่ก็ได้  หรืออยู่ๆ ก็ค้นพบว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความฝันบางอย่าง ...

Art & Culture

“โมเอะ” ตัวละครอนิเมะผู้ไร้เดียงสา กับนัยยะทางเพศที่ถูกผลิตซ้ำผ่านสื่อ

เรื่องและภาพประกอบ : ณัฐกมล สิทธิวงศ์ คงเป็นเรื่องน่าแปลกใจหากคุณหรือคนข้าง ๆ จะไม่เคยอ่านมังงะหรือดูอนิเมะมาก่อนเลยสักเรื่อง เมื่อกระแสความนิยมในการ์ตูนญี่ปุ่นมีมาตลอดตั้งแต่ยุค 90’s จนถึงปัจจุบัน ทั้งอนิเมะแนวแอคชั่นที่ชื่อคุ้นหูอย่าง Naruto กับ One Piece แนวแฟนตาซี/เหนือธรรมชาติอย่าง Inuyasha และ Demon Slayer ไปจนถึงแนวคอเมดี้ โรแมนซ์ และ Slice-of-Life อย่าง K-On!! กับ Love Live! ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน หรือเรื่องราวที่อยู่ในรั้วโรงเรียน ...

Interview

‘จินนี่’ หมอดูเจนซี กับบทบาทผู้เยียวยาบาดแผลทางใจ ที่อยากมอบวันที่สดใสให้กับเพื่อนทุกคน

เรื่อง : ณัฐกมล สิทธิวงศ์ ภาพประกอบ : ปาณิสรา ช้างพลาย “ตอนนี้จินนี่อายุ 21 ก็ไม่ได้คิดว่ามันเป็นข้อจำกัดอะไรในการทำอาชีพนี้ หมอดูบางท่านถึงจะอาบน้ำร้อนมาก่อน มีประสบการณ์ชีวิต หรือผ่านโลกมาเยอะกว่าเรามากก็จริง แต่เขาก็ไม่ได้เห็นโลกทุกมุมหรอก” คงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเราจะได้ยินประโยคมั่น ๆ ...

Writings

เมื่อภาพยนตร์ถูกจำกัด : Censorship ควรมีอยู่หรือทิ้งไป?

วารสารเพรสขอชวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการและกฎเกณฑ์การพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ในประเทศไทย รวมถึงภาพรวมและผลกระทบในวงการภาพยนตร์ไทย ผ่านมุมมองของคุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

Writings

ไม้กางเขนบนเส้นทางบาป กับคำถามว่า ‘โทษประหารชีวิตยังจำเป็นอยู่หรือไม่’

เรื่อง: วิวิศนา อับดุลราฮิม ภาพ: จุฑารัตน์ พรมมา ไม้กางเขนบนเส้นทางบาป อีกหนึ่งผลงานชิ้นเอกจากฮิงาชิโนะ เคโงะ นักเขียนชาวญี่ปุ่นที่เคยฝากผลงานไว้ในเรื่องปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ ฉบับแปลไทยเมื่อปี 2018 โดยในเรื่องนี้ผู้เขียนจะพาผู้อ่านทุกท่านไปร่วมค้นหาความจริงเบื้องหลังเหตุการณ์การฆาตกรรมหญิงสาวผ่านการเล่าเรื่องที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกของตัวละครจนทำให้ผู้อ่านเข้าถึงจิตใจของพวกเขาได้ไม่ยาก และอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้เขียนหยิบยกขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจไม่แพ้กับการไขปริศนาฆาตกรรมก็คือการตั้งคำถามว่า “โทษประหารชีวิตยังจำเป็นอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save