Writings

รูปธรรมที่ฉันอยากเป็นในวัย 76

เรื่อง พันวรรษา กัสยากร

ภาพ เก็จมณี ทุมมา

ในวันที่อากาศร้อนนรกแตกเหมือนทุกวัน ฉันที่เพิ่งกินข้าวเสร็จจากโรงอาหาร SC ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และกำลังเดินแห้งๆ เหี่ยวๆ เพื่อไปเรียนต่อนั้น ฉับพลันสายตาก็หันไปเห็นรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างสีเขียว ที่มองไกลๆ ก็รู้ว่าเป็นรถขายไอติมกะทิเจ้าดังแบรนด์หนึ่งที่ชื่อแบรนด์เป็นต้นไม้มีข้อปล้อง

เสียงกระดิ่งที่คนขายเขย่าส่งผลต่อฉันไม่ต่างจากหมาน้อยที่ได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหลในการทดลองจิตวิทยาของปัฟลอฟ ฉันรีบเดินระริกระรี้เข้าไปต่อแถว สาวเท้ายาวให้ไปถึงจุดหมายโดยเร็ว เพราะยิ่งเดินเข้าไปใกล้มากเท่าไร ในใจก็ยิ่งเปี่ยมสุข แม้จะทุกข์นิดหน่อยที่เห็นคนต่อคิวยาวเหยียดท่ามกลางแดดจ้าก็เถอะ

ก่อนเดินไปต่อท้ายแถว ฉันแอบชะโงกหน้าดูในตู้ตักไอติม เพื่อคำนวณปริมาณไอติมรสกะทิแบบออริจินัลรสโปรด เพื่อให้มั่นใจว่ามันจะเหลือถึงคิวฉันแน่นอน และไม่ต้องรอเก้อ

ในตอนนั้นเอง สายตาฉันหันไปสบเข้ากับคุณผู้หญิงคนหนึ่งที่อยู่อีกฟากหนึ่งของตู้ไอติม ซึ่งเมื่อพิจารณาจากชุดผ้าไหมสีเขียวตองอ่อนที่ใส่  “ตามพิมพ์นิยม” ของคุณครูภาษาไทยแล้ว ก็คงเป็นอาจารย์สักคนในมหาวิทยาลัยอันกว้างใหญ่แห่งนี้  ฉันจึงไม่ได้สนใจอะไรมากนัก เดินกลับไปต่อแถวที่ดูจะยาวขึ้นกว่าเดิมนิดหน่อย

ระหว่างที่ฉันต่อแถวอยู่ คุณผู้หญิงในชุดผ้าไหมตองอ่อนเดินเข้าไปใกล้รถขายไอติมและชะโงกหน้าดูในตู้ เห็นไกลๆ ว่าเธอขยับปากพูดกับคนขายอยู่สองสามประโยค ฉันเข้าใจว่าเธอคงใช้สิทธิของความเป็นผู้ใหญ่และอาจารย์ลัดคิวสั่งไอติม ซึ่งแม้จะหงุดหงิด แต่ก็เข้าใจได้ มันเป็นภาพชินตาที่เห็นได้บ่อยในโรงเรียน

แต่แล้วก็ต้องประหลาดใจ เพราะคุณผู้หญิงคนนั้นเดินมาต่อแถวที่ด้านหลังของฉัน จึงรู้ทันทีว่ากำลังเข้าใจผิด เธอไม่ได้แซงคิวอย่างที่คิด อาจจะแค่ดูและสอบถามรสไอติมจากคนขาย

ฉันรู้สึกผิดที่เอาประสบการณ์ของตัวเองไปตัดสินคนอื่น แต่ก็รู้สึกประทับใจไปในคราวเดียวกัน

รอต่อไปอีกสักพัก แถวสั้นขึ้นมาก ฉันได้ยินเสียงคุณผู้หญิงด้านหลังต่อสายโทรศัพท์หาเพื่อน จับใจความได้ว่าจะซื้อไอติมไปฝาก เลยต้องการถามว่าอยากใส่เครื่องอะไร แต่จากที่ฉันได้ยินการอธิบายว่าเครื่องไอติมมีชนิดใดบ้างของเธอนั้น ดูออกจะไม่เชี่ยวชาญ พูดผิดๆ ถูกๆ ตะกุกตะกัก จนเมื่อเธออธิบายกับเพื่อนว่า “มันเชื่อม” คือ “สับปะรดเชื่อม” จุดนั้นฉันจึงคิดว่าควรทำอะไรสักอย่าง ไวเท่าความคิด ฉันหันหัวไปด้านหลัง โปรยยิ้มหวานหนึ่งที

“เครื่องไอติมมีข้าวเหนียว มันเชื่อม แล้วก็ลูกชิดค่ะ”

“อ๋อ นั่นคือมันเชื่อม ฮะๆ” เธอพึมพำกับตัวเอง หัวเราะเบาๆ

แน่นอนอยู่แล้ว สับปะรดหาใช่สิ่งคู่ควรไม่กับไอติมกะทิ ความเปรี้ยวของมันจะทำให้ความหวานมันของไอติมกะทิเสียรสชาติ

“แม่เป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ หนูอยู่คณะอะไร”

ระหว่างที่กำลังงงว่าแม่ใครเป็นศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ ปากฉันก็ตอบ “วารสารฯ ค่ะ”

“อ๋อ หนูมาจากคณะวารสารฯ แม่จบคณะอื่น เรียนจบไปหลายสิบปีแล้ว วันนี้มาบริจาคเครื่องช่วยหายใจที่โรงพยาบาล” ฉันเริ่มเข้าใจว่าเธอแทนตัวเองว่าแม่… เขินจัง

“โห ยังดูสาวอยู่เลยค่ะ จบจากคณะอะไรคะ”

“จากบัญชี นี่เจ็ดสิบกว่าแล้วนะ”

“เจ็ดสิบเท่าไรเนี่ย” อันนี้พูดไม่มีหางเสียง เพราะว่าไม่ใช่เสียงของฉัน หันกลับไปดูจึงได้รู้ว่าคุยเพลินจนแถวสั้นถึงคิวของฉันแล้ว และเสียงนี้เป็นของคนขายไอติม ฮั่นแน่ะ…มีคนแอบฟัง

“เจ็ดสิบหกแล้ว” เธอบอกด้วยท่าทีสบายๆ แต่ฉันตกใจมาก เผลอเสียมารยาทด้วยการมองใบหน้าของเธออย่างถี่ถ้วน

หน้าผากของเธอเนียนเรียบ มีแค่ริ้วบางๆ แทบจะมองไม่เห็น ระหว่างคิ้วปราศจากเส้นขมวด พระบาทสัตว์ปีกที่หางตาก็ไม่มี ริ้วรอยเดียวที่ปรากฏบนใบหน้าคือร่องแก้ม…

‘ใช้ครีมอะไรคะ?’

“โห ไม่เหมือนคนอายุ 76 เลยค่ะ ไม่เหมือนเลย” ประโยคบนคือข้อความจากใจที่ฉันคิดแต่ไม่ได้พูด ที่พูดออกไปคือประโยคล่าง มาจากใจเหมือนกัน

“จริงเหรอ ฮะๆ” เธอหัวเราะยิ้มตาหยี ถามถ่อมตัว

จังหวะนี้เหมือนเธอจะพูดอะไรต่อ แต่ไอติมของฉันตักเสร็จพอดี คนขายถามว่าจะราดซอสอะไรหรือไม่ ฉันจึงต้องหันไปตอบก่อน และเตรียมควักเงินจ่าย

“เดี๋ยวแม่เลี้ยงเอง” เธอพูดแล้วหยิบแบงก์ร้อยยื่นให้คนขาย สั่งไอติมของตัวเองและเพื่อน

ฉันไหว้ย่อสวยที่สุดเท่าที่ทำได้  “ขอบคุณนะคะ”

เมื่อแยกย้ายกับเธอแล้ว ฉันมานั่งกินไอติมใต้ตึกเรียน ด้วยความประทับใจจึงถ่ายรูปไอติมเก็บไว้ นึกเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปคนเลี้ยงไว้ด้วย อย่างน้อยที่สุด ก็เอาไว้เตือนใจและเปรียบเทียบกับตัวเองในวัยเจ็ดสิบหก

ฉันไม่รู้เลยว่าเมื่อโตไปแล้ว โลกใบนี้จะทำให้ฉันเป็นผู้ใหญ่แบบไหน  ถ้าเลือกได้ ฉันคงอยากโตไปเป็นเหมือนเธอ

มีระเบียบ เคารพกติกา… เหมือนที่เธอเดินมาต่อแถวซื้อไอติม ทั้งๆ ที่ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งไม่คิดจะทำด้วยซ้ำ

มีสตางค์แล้วแบ่งปันให้สังคม… เหมือนที่เธอบริจาคเครื่องช่วยหายใจให้โรงพยาบาล

ใจดี มีน้ำใจ… เหมือนที่เธอแวะซื้อไอติมไปฝากเพื่อน และยังเลี้ยงไอติมฉัน เด็กที่เพิ่งคุยกันเป็นครั้งแรก

หน้าตาอ่อนเยาว์ อารมณ์ดี… เหมือนที่เธอมีแค่ริ้วรอยเดียวคือร่องแก้มอันเกิดจากการแย้มยิ้ม

ฉันในวัย 76 อยากเป็นเหมือนเธอ หวานและเย็นเหมือนไอติมกะทิ

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
2
Love รักเลย
13
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Writings

Writings

‘RICE สาระ’ เรื่องข้าวๆ ของคนวิจัยข้าว

เรื่องและภาพประกอบ : วรพร รุ่งวัฒนโสภณ นี่สินะที่เรียกว่า ‘ความเงียบที่ดังที่สุด’ ความเงียบก่อตัวขึ้นในกองบรรณาธิการเล็กๆ ของเรา หลังสิ้นคำถามของฉันว่า “มีใครรู้จักศูนย์วิจัยข้าวไหม” แม้จะคาดหวังคำตอบว่า ‘รู้จัก’ อยู่เล็กน้อย แต่ความเงียบก็ได้ตอบคำถามแล้วว่า ‘ไม่มีใครรู้จักเลย’ ...

Writings

สำรวจความสำคัญ พร้อมตั้งคำถามถึงค่านิยมแบบไท๊ย ไทย ที่ทำให้วัตถุสนองความอยากทางเพศ ถูกปฏิเสธการมีอยู่

เรื่อง: ทยาภา เจียรวาปี ภาพประกอบ: นภัสสร ยอดแก้ว จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมาสักระยะ ผู้เขียนพบสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ ‘การเปิดเผยเรื่องทางเพศอย่างตรงไปตรงมา’ จากเดิมที่แค่พูดแตะๆ เรื่องใต้สะดือก็มีสิทธิ์โดนแบนได้ง่ายๆ ตอนนี้กลับสามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ประสบการณ์เซ็กซ์ การบอกเทคนิคลีลาเด็ดมัดใจคู่นอนในโลกโซเชียล ...

Writings

When the party’s over, what do we need to recover? งานธรรมศาสตร์แฟร์ ทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้เราบ้าง

เรื่องและภาพประกอบ : สิทธิเดช สายพัทลุง “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” คำพูดที่มีความหมายว่า แม้จะเจออะไรที่แย่ขนาดไหน แต่หลังจากที่มันผ่านไป ก็จะมีสิ่งดีตามมาเสมอแต่สำหรับงานธรรมศาสตร์แฟร์ (Thammasat Fair) เหมือนว่าจะไม่ใช่แบบนั้น งานธรรมศาสตร์แฟร์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ...

Writings

ผู้ดูแลคนพิการคือสมาชิกในครอบครัวของฉัน

เรื่องและภาพประกอบ : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ย้อนกลับไปเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่ฉันกำลังทำความสะอาดข้าวของเก่าๆ ในห้องเก็บของอยู่ สายตาก็พลันเหลือบไปเห็นกล่องพลาสติกใสมีฝาปิด ด้านในอัดแน่นไปด้วยอัลบั้มรูปภาพตั้งเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ  ฉันตัดสินใจนั่งลงบนพื้นแล้วเปิดฝากล่องออก ค่อยๆ หยิบอัลบั้มแต่ละเล่มออกมาเปิดดูด้วยความสงสัย รูปทั้งหมดหลายร้อยใบล้วนเป็นรูปครอบครัวของฉัน มันได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีในซองพลาสติกใสของอัลบั้ม ทว่าน่าเสียดายที่ไม่มีใครเขียนวันเดือนปีระบุเอาไว้ ...

Writings

ครบรอบ 45 ปี กับการปรากฏตัวของ Dorami ตัวประกอบหลักผู้คงอยู่เพื่อคนอื่น?

เรื่อง : สิทธิเดช สายพัทลุง “โดราเอมอนถูกหนูกัดใบหูจนต้องนำหูออก เขาเศร้าใจมากและร้องไห้จนสีตัวของตัวเองเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีฟ้า” ส่วนหนึ่งจากที่มาที่ไปของ ‘โดราเอมอน’ เจ้าหุ่นยนต์อ้วนกลมตัวสีฟ้า ผู้ที่ย้อนเวลามาช่วยเหลือ ‘โนบิ โนบิตะ’ เด็กผู้ชายที่ใช้ชีวิตอยู่บนความขี้เกียจและไม่สนใจการเรียน ให้สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองและมีชีวิตที่สดใสในอนาคต แต่คนที่ทำให้โดราเอมอนสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...

Writings

“ไม่มีใครเก่งเท่าเธอแล้ว” ว่าด้วยนิยามผู้หญิงเก่งในสายตาของแต่ละคน Part 2

เรื่องและภาพประกอบ : ชวิน ชองกูเลีย, ทยาภา เจียรวาปี, ภัสรา จีระภัทรกุล และ พนิดา ช่างทอง เชื่อว่าเราทุกคนล้วนมีผู้หญิงเก่งในใจตัวเองกันทั้งนั้น แต่จะเป็นใคร มีลักษณะนิสัยอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกส่วนตัว ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save