News

อดีตผู้ปราศรัย “ม็อบ10สิงหา” ชี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้สถาบันกษัตริย์ถูกพูดถึงในเวทีมากขึ้น

เรื่อง: วีริสา ลีวัฒนกิจ และ พรรณรมณ ศรีแก้ว

อดีตผู้ปราศรัย “ม็อบ10สิงหา” ชี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ มีมูลเหตุเพื่อล้มล้างการปกครอง จะยิ่งทำให้สถาบันกษัตริย์ถูกพูดถึงในเวทีสาธารณะมากขึ้น

จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในวันที่ 10 พ.ย.  2564 ให้การชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” หรือ “ม็อบ10สิงหา” ในวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ซึ่งมีการปราศรัยถึง 10 ข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยภาณุพงศ์ จาดนอก ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และอานนท์ นำภา ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรค 1 โดยสั่งให้ 3 ผู้ถูกร้องและกลุ่มองค์กรเลิกการกระทำดังกล่าว ซึ่งในคำวินิจฉัยมีส่วนหนึ่งระบุว่า “อำนาจการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด” นั้น 

ณฐนภ ศรัทธาธรรม พนักงานของหน่วยงานภาคประชาสังคมแห่งหนึ่ง อดีตนักศึกษาวิทยาลัยสหวิทยาการ มธ. และหนึ่งในผู้ร่วมปราศรัยใน “ม็อบ10สิงหา” กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้มีการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจนมากขึ้นในการชุมนุมสาธารณะ เพราะคำวินิจฉัยสามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเทศไทยอาจจะผิดหลักการสากล รวมถึงมีการพยายามใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างชัดเจน

“คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันถูกประชาชนตั้งคำถามว่า เป็นคุณหรือโทษกับประชาชนขนาดไหน และเป็นคุณหรือโทษกับฝั่งผู้มีอำนาจขนาดไหน เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นศาลที่มีบทบาททางการเมืองสูงทั้งที่มาและการใช้อำนาจ” ณฐนภกล่าวและว่า นอกจากนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็อาจทำให้มีการฟ้องปิดปากหรือ Strategic Lawsuit Against Public Participation (SLAPP) มากขึ้นเช่นกัน รวมทั้งอาจมีผลกระทบถึงการสั่งฟ้องและรูปแบบของการตัดสินคดีที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ เช่น คดีที่ถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาหรือคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อีกทั้งคำวินิจฉัยของศาลยังมีลักษณะที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตคือการสั่งห้ามไปถึงในอนาคต ซึ่งสามารถตีความได้ในหลายแง่มุม

ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย 3 แกนนำ อานนท์-ไมค์-รุ้ง เหตุปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 (ภาพจาก YouTube สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ)

เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ มธ. และสมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อลองวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมาดูแล้ว เหมือนเป็นสัญญาณทางการเมืองอย่างหนึ่งที่ต้องการให้มีการหยุดการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งหากจะมีการชุมนุมครั้งต่อ ๆ ไป ก็จะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น และอาจมีความรุนแรงที่มากขึ้นตามมาได้

เกียรติชัยกล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ชัดเจนและตีความกว้าง ทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่าต่อไปจะสามารถพูดถึงข้อเรียกร้องอะไรได้บ้าง ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็คืออาจจะไม่สามารถปราศรัยเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ได้อีก อาจทำให้การเรียกร้องในการยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 มีความยากลำบากมากขึ้น หรือไม่สามารถทำได้อีกเลยก็เป็นได้ และอาจมีการนำกฎหมายมาตรา 113 ข้อหากบฏมาบังคับใช้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจัดกิจกรรม ‘ธรรมศาสตร์จะไม่ทน’ บริเวณลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 (เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ย. จาก https://www.naewna.com/politic/510945)

วิริยะ ก้องศิริวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์ มธ.กล่าวว่า คำตัดสินครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของหน่วยต่าง ๆ ในระบบราชการ โดยเฉพาะในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เพราะมาตรา 211 วรรค 4 ในรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งอาจส่งผลกระทบทางอ้อมถึงทัศนคติในการปราบปรามผู้ชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ปกรณ์ สุรฤทธิ์ธำรง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) และรองโฆษกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) กล่าวว่า อมธ. สนับสนุนการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษาและประชาชนอย่างเต็มที่ โดย อมธ. มีหน้าที่และพันธกิจในฐานะตัวแทนของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยสามารถช่วยประสานงานอาจารย์ ทนายหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ หากมีกรณีที่นักศึกษาถูกดำเนินคดีหรือได้รับบาดเจ็บ

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
1
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:News

News

เสวนา “ทบทวนบทเรียนและก้าวต่อไปสู่ความจริงและความเป็นจริง ผ่านมุมมองคน 5 เจเอนเรชั่น ” สะท้อนสภาวะเสรีสื่อถูกริดรอนมานานกว่า 50 ปี

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : กัญญพัชร กาญจนเจตนีและศิรประภา สีดาจันทร์ วงเสวนา ‘ทบทวนบทเรียนและก้าวต่อไปสู่ความจริงและความเป็นจริง ผ่านมุมมองคน 5 เจเนอเรชั่น’ ชี้ ...

News

รองอธิการฯ มธ. แจงแนวทางจัดซื้อไฟฟ้า แก้ปัญหาค่าไฟหอในแพง

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : จิรัชญา นุชมี รองอธิการฯ มธ. วางแผนจัดซื้อไฟฟ้าจากบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เพื่อแก้ปัญหาราคาค่าไฟหอในศูนย์รังสิต   วันที่ 17 ตุลาคม ...

News

ครบรอบ 47 ปี 6 ตุลา ประชาชนร่วมจุดเทียนรำลึกผู้สูญเสีย

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : สมิตา พงษ์ไพบูลย์ ประชาชนร่วมจุดเทียนรำลึกผู้สูญเสีย 6 ตุลา 2519 แน่นลานประติมากรรม มธ.ท่าพระจันทร์ ในวันครบรอบ ...

News

สรุปมหากาพย์วิวาทะ “โครงการภาพยนตร์นานาชาติ” ปมขัดแย้งเพื่อเพื่อน อมธ และกกต มธ รังสิต 

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ อมธ.โวยหลังโดนพรรคเพื่อเพื่อนสภานศ.โหวตคว่ำงบฯ เทศกาลภาพยนตร์ 4 ศูนย์ เผย ต้องการกระจายกิจกรรมไปช่วยธรรมศาสตร์ศูนย์ต่างๆ เพื่อให้ความรู้และความบันเทิงอย่างทั่วถึง ...

News

ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ชี้ ไทยไฟเขียวกฎหมายทำแท้ง แต่มีโรงพยาบาลรับทำน้อย เพราะกลัวบาป

เรื่อง : อารีย์วรรณ อมรเดชเทวินทร์ ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งให้บริการสายด่วน 1663 ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม ชี้ไทยแก้กฎหมายให้การทำแท้งเปิดกว้างมากขึ้นแล้ว แต่มีโรงพยาบาลแค่ใน 39 ...

News

อาจารย์รัฐศาสตร์ แนะก้าวไกล จับเก้าอี้รองประธาน ชี้สำคัญกว่า มีอำนาจ-ตรวจสอบความโปร่งใสได้

เรื่อง : กัญญพัชร กาญจนเจตนี ภาพ : ศิรประภา สีดาจันทร์ อาจารย์รัฐศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ติงกรณีก้าวไกลดำเนินการเพื่อให้ได้ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านควบรองประธานสภาฯ ไปพร้อมกัน อาจกลายเป็นช่องที่ทำให้โดนโจมตีได้แนะก้าวไกลควรเลือกตำแหน่งรองประธานสภาฯ เพราะน่าจะช่วยทำให้ระบบสภาโปร่งใสขึ้น จากกรณีที่ พิธา ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save