News

คณบดีคณะวิศวะฯ มธ. ชี้แจง ใส่ชุดไปรเวทเข้าสอบได้ แม้ผิดจากประกาศคณะ เตรียมพูดคุยกับนักศึกษาเพื่อหาข้อสรุปหลังสอบกลางภาค ด้านนักศึกษาเชื่อประกาศของสภานักศึกษา จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น ขอให้รักษาสิทธิของตัวเอง

เรื่องและภาพ : ปาณัสม์ จันทร์กลาง

จากกรณีที่สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สภาฯ) ส่งหนังสือแจ้งถึงคณบดีทุกคณะ วิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันการศึกษา ว่าการบังคับให้แต่งชุดนักศึกษาเข้าสอบเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ ต่อมาพบว่านักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ใส่ชุดไปรเวทเข้าสอบ จำเป็นต้องเขียนใบคำร้องก่อนเข้าห้องสอบ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์บนสื่อสังคมออนไลน์เรื่องสิทธิการแต่งกายของนักศึกษานั้น

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 9.30 น. ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า คณะฯ ไม่มีการห้ามนักศึกษาที่แต่งชุดไปรเวทเข้าสอบกลางภาค เพียงแต่ต้องเขียนใบคำร้องเสียก่อน จึงสามารถเข้าห้องสอบได้ตามปกติ แม้นักศึกษาจะให้เหตุผลว่าเป็นการแต่งกายสุภาพตามข้อบังคับเรื่องการแต่งกายของมหาวิทยาลัย แต่การที่ข้อบังคับนั้นไม่ได้ระบุลักษณะของชุดสุภาพไว้ชัดเจน จึงสร้างความสับสนให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่คุมสอบ เนื่องจากแต่ละคนตีความคำว่าชุดสุภาพไม่เหมือนกัน ทางคณะฯ จึงใช้ประกาศ เรื่อง ข้อปฏิบัติในการแต่งกายในการสอบกลางภาคและสอบไล่ ของเมื่อปี 2549 ที่ระบุลักษณะของชุดสุภาพอย่างชัดเจน เพื่อความเข้าใจตรงกันของบุคลากรภายในคณะฯ และใช้เป็นระเบียบควบคู่ไปกับข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

“อาจารย์ (คณบดี) ไม่ได้ยึดติดกับชุดนักศึกษานะ แต่ยึดติดกับคำว่าชุดสุภาพ มหาวิทยาลัยควรมีไกด์ให้ว่าชุดสุภาพคืออะไร สุภาพของอาจารย์ สุภาพของเรา กับสุภาพของคนอื่นมันไม่เหมือนกัน เราแค่อยากให้เด็กได้แต่งชุดสุภาพให้เหมาะสมตามกาลเทศะ” คณบดี กล่าวและว่า ชุดสุภาพไม่จำเป็นต้องเป็นชุดนักศึกษา และเข้าใจว่าในตอนนี้ทางคณะฯ และนักศึกษากำลังตั้งคำถามเดียวกันว่า ชุดที่สุภาพ เหมาะสม และถูกกาลเทศะคืออะไร

คณบดี กล่าวว่า เคยมีแผนพูดคุยกับนักศึกษาเรื่องระเบียบการแต่งกายตั้งแต่ช่วงแรกของการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 1/2565 แต่มีเหตุการณ์นักศึกษาของคณะฯ ติดโควิดจำนวนมากจากการกลับมาเรียนออนไซต์ ทำให้แผนการพูดคุยถูกเลื่อนออกไป แต่เมื่อมีประเด็นเรื่องการแต่งชุดไปรเวทเข้าสอบกลางภาคเกิดขึ้น คณะฯ จึงเตรียมพูดคุยกับตัวแทนนักศึกษาจากแต่ละสาขา ชั้นปี โดยจะมีการพูดคุยหลังจากเสร็จสิ้นการสอบกลางภาค เพื่อหาข้อตกลงถึงลักษณะของชุดสุภาพ สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน และใช้ร่วมกันต่อไป โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนสอบปลายภาค

ปัณณพัทธ์ จันทนางกูล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้ใส่ชุดนักศึกษา เพราะข้อบังคับของมหาวิทยาลัยไม่มีการระบุเรื่องการแต่งกายเข้าสอบไว้ แต่คณะฯ ยังคงใช้ประกาศที่อ้างอิงจากข้อบังคับเก่าที่ถูกยกเลิกไปแล้วอยู่ ทำให้เขาเคยต้องเขียนใบคำร้องชี้แจงเหตุผล แม้ว่าคณะฯ ไม่ได้มีบทลงโทษ แต่ขั้นตอนการเขียนใบคำร้องก็ทำให้เสียเวลาในการสอบไปมาก คาดว่าการที่สภาฯ ส่งหนังสือแจ้งไปยังคณบดีทุกคน ว่าการบังคับให้ใส่ชุดนักศึกษาเข้าสอบเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้มากขึ้น โดยเฉพาะคณะสายวิทยาศาสตร์

“อยากบอกเพื่อนๆ ว่า พวกเราทุกคนมีสิทธิ์บนร่างกายของตัวเอง อยากให้ทุกคนตระหนักไว้อยู่เสมอ ไม่งั้นมันจะเป็นช่องโหว่ให้คนอื่นมาลิดรอนสิทธิของเรา สุดท้ายแล้วก็จะทำให้เราไม่มีสิทธิเสรีภาพ และอยากบอกถึงคณะกรรมการนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ (กน.วศ.) ว่า นักศึกษาเลือกคุณมาเป็นผู้แทนพวกเขา แต่พอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ทำไมถึงปล่อยให้นักศึกษาในคณะฯ เคลื่อนไหวกันเอง อุดมการณ์ของพวกคุณไม่ได้ยืนอยู่เคียงข้างนักศึกษาเหรอครับ ได้โปรดเถอะ ช่วยทำหน้าที่ให้สมกับเป็นผู้แทนนักศึกษาสักที” ปัณณพัทธ์ กล่าว

ด้าน ศิริวรรณ วรชัยยุทธ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มธ. กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการใส่ชุดนักศึกษาเข้าสอบว่า สิ่งที่ต้องพูดคุยกันคือแนวคิดว่า ‘ความสุภาพ’ สำหรับนักศึกษามธ. นั้นคืออะไร เพราะแนวคิดของแต่ละฝ่ายไม่เหมือนกัน เมื่อมีความสุภาพที่แตกต่างกันย่อมเกิดการถกเถียง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่มองว่าไม่ใช่สิ่งที่ควรเกิดขึ้นในห้องสอบ เนื่องจากบางครั้งการจัดสอบอาจไม่ใช่เรื่องระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเสมอไป ดังนั้นจึงต้องมีกรอบบางอย่าง เพื่อป้องกันให้เกิดปัญหาขึ้นน้อยที่สุด นั่นคือชุดนักศึกษาที่เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าเป็นชุดสุภาพ

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
1
Angry โกรธ
0

Leave a reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

More in:News

News

น.ศ.มธ. ร้องเปิด ‘ประตูเชียงราก 1’ 24 ชั่วโมง เตรียมประชุมผู้เกี่ยวข้องบ่ายโมงวันนี้

เรื่องและภาพ: ปาณัสม์ จันทร์กลาง หัวหน้าพรรคโดมปฏิวัติรวมพลนักศึกษาหน้าประตูเชียงราก 1 ยืนยันข้อเรียกร้อง เปิดประตู 24 ชั่วโมงเพื่อความสะดวกและปลอดภัยของนักศึกษา พร้อมนัดหมายฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมพูดคุยบ่ายโมงวันนี้ ด้านหัวหน้าผู้ดูแลความปลอดภัยและจราจร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ชี้เพิ่งมีมาตรการอนุโลมให้เข้าออก ...

News

สอบ.ค้าน ‘ต่อสัมปทาน 30 ปี รฟฟ.สายสีเขียว’ เหตุค่าโดยสารแพงขึ้น

ผู้เขียน: กัญญพัชร กาญจนเจตนี และ กัญญาภัค วุฒิรักขจร ภาพ: สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย และ มติชนออนไลน์ สภาองค์กรของผู้บริโภคค้านการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เหตุจะทำให้ค่าโดยสารแพงขึ้น ชี้คนไทยจ่ายค่ารถไฟฟ้าแพงกว่าคนญี่ปุ่น จากกรณีมีข้อเสนอที่จะขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า BTS ...

News

สปป.ลาวเสียงแตก ‘โตโน่’ ว่ายน้ำ เป็นภาระหรือช่วยแพทย์

เรื่อง: ณัฐกมล สิทธิวงศ์ ภาพ: อินสตาแกรม @mootono29 คนในพื้นที่แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเสียงแตก ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยที่โตโน่ว่ายน้ำ ระบุเป็นการเพิ่มภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยกู้ภัย แต่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ดีใจเพราะโรงพยาบาลเมืองท่าแขกขาดแคลนทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากกรณีที่ ธนสิทธิ์ ไพรพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม ...

News

รพ.หลายแห่งไม่รับทำแท้งผู้ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ แม้มีกม.รองรับ

เรื่อง: ปาณัสม์ จันทร์กลาง ภาพ: ณัฐกมล สิทธิวงศ์ สายด่วนท้องไม่พร้อม 1663 เผย แม้ประเทศไทยจะแก้กฎหมายให้ผู้มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์สามารถเข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ยังพบว่าโรงพยาบาลจำนวนมากรวมทั้งโรงเรียนแพทย์ปฏิเสธการให้บริการ แนะสธ.จัดหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์จังหวัดละ 1 ...

News

น้ำท่วมชุมชนมัสยิดท่าอิฐ นนทบุรี ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ความช่วยเหลือจากรัฐยังไม่เพียงพอ ขณะที่นายกฯ อบต. แจ้งเตือนเตรียมรับมือระดับน้ำอาจเพิ่มสูงอีก 20 ซม. กลางเดือนนี้

เรื่องและภาพ: ปาณิสรา ช้างพลาย จากกรณีอุทกภัยสาเหตุจากพายุนูโรและน้ำหนุนจากทางภาคเหนือ ประกอบกับฝนตกหนักสะสมต่อเนื่องในพื้นที่ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี  ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนบริเวณชุมชนมัสยิดท่าอิฐ หมู่ 10 มานานเกือบเดือนนั้น เมื่อวานนี้ (9 ต.ค.) ...

News

น.ศ.มธ.จัดกิจกรรม “ไว้อาลัยศาลไทยภายใต้ระบอบประยุทธ์” เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านคำวินิจฉัย “8 ปี ประยุทธ์” พร้อมต้องการให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

เรื่อง: เจตณัฐ พิริยะประดิษฐ์กุล ภาพ: กัปตัน จิรธรรมานุวัตร จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญ (ศร.) วินิจฉัยว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ถึงวันที่ 5 เมษายน 2568 ตามความในมาตรา ...

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save