Shot By Shot

ความจริงและความฝันของวัยรุ่นธรรมดา ๆ ที่ตามองไม่เห็น

เรื่อง พิชญา ใจสุยะ

ไผ่ หรือ นายพีระวิชญ์ จงเจตน์ดี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ก็เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตแบบธรรมดา เช่น ไปเรียน กลับห้อง พักผ่อน ดูหนัง ฟังเพลง และมีความชอบส่วนตัว
เขาพิการทางสายตามาตั้งแต่กำเนิด วัยเด็กยังพอมองเห็นเลือนรางหากมองใกล้ ๆ และวัตถุนั้นไม่ขยับ ส่วนปัจจุบันเขามองเกือบไม่เห็นแล้ว

เมื่อลองถามเรื่องสี ไผ่บอกว่าตอนเด็กเขายังมองเห็นบ้าง แต่เลือนราง จึงพอจะจำได้ว่าแต่ละสีเป็นอย่างไร สีที่จำได้อย่างชัดเจนที่สุดคือ สีขาว สีดำ น้ำเงินกับฟ้าที่เขาแยกไม่ออก สีเขียว และสีแดง โดยเมื่อนึกถึงแต่ละสี ก็จะนึกถึงสีขาวของรถเบนซ์ สีดำของชายชุดดำในการ์ตูนเรื่องโคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบ สีน้ำเงินของทะเลในการ์ตูนเรื่องวันพีซ สีเขียวของรถมิตซูบิชิ มิราจ และสีแดงของตัวการ์ตูนไปรษณีย์ของการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่เขาจำชื่อไม่ได้

ไผ่เลือกเรียนคณะนิติศาสตร์ เพราะชอบที่ได้รู้ว่าผู้พิการมีสิทธิ์อย่างไร สามารถทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง แต่เขาก็ลังเลว่าหากจบไปจะทำงานเป็นผู้พิพากษา หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยดี เพราะชอบที่ได้สอนเรื่องยาก ๆ ให้เป็นเรื่องง่าย เขาบอกว่ามีความสุขทุกครั้ง หากมีคนเข้าใจที่เขาสอน

อยากเป็น ไอรอนแมน เพราะตัวไอรอนแมนไม่มีพลังวิเศษเลย แต่สามารถกลายเป็นฮีโร่ได้ด้วยความเก่งของตัวเองจริง ๆ

“ถ้าสูญเสียประสาทสัมผัสหนึ่ง อันอื่นจะดีขึ้น จริงหรือ?” ไผ่ตอบกลับมาอย่างรวดเร็วว่าไม่ครับ (หัวเราะ) จริง ๆ เขาก็เคยสังเกตตัวเองอยู่ว่าประสาทสัมผัสอื่นดีขึ้นจริงหรือ แต่ก็พบว่าไม่จริง ตอนเรียนก็ไม่ได้มีสมาธิมากขึ้น การฟังอาจารย์พูดอย่างเดียวกลับทำให้หลุดโฟกัสง่ายขึ้น

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
0
Love รักเลย
0
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Shot By Shot

Shot By Shot

Reflect : ชุมชนคุ้งผ้าพับ

ห่างจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพียง 2 ฝั่งถนนในทางทิศใต้ หรือฝั่งเชียงราก ด้านหลัง TU dome และหอพักต่างๆ มีชุมชนริมคลอง

Shot By Shot

44 years ago

วันนี้เมื่อ 44 ปีที่แล้ว เกิดเหตุการณ์ ‘6 ตุลา’ ขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ สถานที่ที่เป็นแหล่งความรู้ให้เยาวชนทั้งหลาย

Shot By Shot

ทำไมต้อง “แขวน”

คำถามแรกที่เราเกิดความสงสัยเมื่อเห็นชื่องานนิทรรศการรำลึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ปีนี้ 

เราเก็บความสงสัยนี้ไว้จนเมื่อเดินทางมาถึงตัวงาน แล้วก็ได้พบกับตอบที่ว่า ทำไมต้องเป็นงาน “แขวน”

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save