Lifestyle

ค่าใช้จ่ายในการมีความรัก ฉบับ GEN Z

เรื่องและภาพประกอบ : ปาณิสรา ช้างพลาย

Varasarnpress ชวนคุณมาร่วมสำรวจค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากการมีความรัก ฉบับเด็ก Gen Z 

จากการเผยแพร่แบบสอบถามทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 21 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 มีกลุ่มคน Gen Z ที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 16-25 ปี เข้าร่วมตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 112 คน โดยมีทั้งผู้ที่กำลังอยู่ในความสัมพันธ์และเคยอยู่ในความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น คนรัก, มีคนคุย, Friend with Benefits (FWB), One Night Stand (ONS) หรือความสัมพันธ์แบบซับซ้อน (It’s complicated)  โดยมีสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนี้ 

  • เพศชาย จำนวน 24 คน 
  • เพศหญิง จำนวน 70 คน 
  • LGBTQIAN+ จำนวน 17 คน 
  • ไม่ระบุเพศ จำนวน 1 คน 

ผลสำรวจจากคำถาม  ‘ขณะที่อยู่ในความสัมพันธ์ คุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนในหมวดใดเพิ่มขึ้นบ้าง’  โดยผู้ที่ตอบสามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า หมวดที่มีคนเลือกตอบมากที่สุดก็คือ ‘อาหาร’ คิดเป็น 77.7% หรือ 87 คน รองลงมาคือ ‘การเดินทางเพื่อไปพบคนในความสัมพันธ์’ และ ‘ของขวัญ’ ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนจาก 3 อันดับแรกที่มีคนเลือกตอบมากที่สุดนี้ อาจฉายภาพได้ว่าสิ่งที่ Gen Z ให้ความสำคัญในความสัมพันธ์ คือ การรับประทานอาหารร่วมกัน การเดินทางมาเจอหน้ากัน และการมอบของขวัญให้กันและกัน

ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นทั้ง 7 หมวดของ Gen Z เมื่ออยู่ในความสัมพันธ์ ได้แก่

  1. อาหาร : 77.7%
  2. การเดินทาง (เพื่อมาพบคนในความสัมพันธ์) : 62.5%
  3. ของขวัญ : 61.6%
  4. การท่องเที่ยว : 50%
  5. ความบันเทิง : 36.6%
  6. สุขภาพ การดูแลตนเอง : 31.3%
  7. กิจกรรมทางเพศ : 31.3%
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร

30.4ของผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร เป็นเงิน 1,000-1,500 บาทต่อเดือน

ผู้ตอบแบบสอบถาม 30.4% หรือ 34 คน ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหารด้วยกัน เป็นเงิน 1,000-1,500 บาทต่อเดือน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบมีคนรัก 29 คน มีคนคุย 4 คน และ ONS 1 คน อาจอนุมานได้ว่าการรับประทานอาหารด้วยกัน เป็นกิจกรรมที่นิยมสำหรับคนที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบคนรัก ขณะที่ 26.8% มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 1,000 บาท รองลงมาคือ 16.1% เพิ่มขึ้น 1,500-2,000 บาท 

3 อันดับกิจกรรมการรับประทานอาหารที่ทำในความสัมพันธ์ ที่ Gen Z เลือกตอบมากที่สุด คือ

  1. รับประทานอาหารมื้อพิเศษตามร้านอาหาร/ห้างสรรพสินค้า : 71.4%
  2. รับประทานบุฟเฟต์ : 56.3%
  3. ซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารร่วมกัน : 35.7%
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางไปพบคนในความสัมพันธ์

31.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปพบคนในความสัมพันธ์ น้อยกว่า 500 บาทต่อเดือน

ผู้ตอบแบบสอบถาม 31.3% หรือ 35 คน ระบุว่าใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปพบคนในความสัมพันธ์ น้อยกว่า 500 บาทต่อเดือน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบมีคนรัก 28 คน มีคนคุย 4 คน ความสัมพันธ์ซับซ้อน 1 คน FWB 1 คน และ ONS 1 คน โดยการเดินทางเป็นค่าใช้จ่ายที่กลุ่ม ONS และ FWB ต้องใช้เพื่อไปพบคนในความสัมพันธ์ ขณะที่ 26.8% มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้น 500-1,000 บาท รองลงมาคือ 20.5% ไม่มีค่าใช้จ่าย 

5 อันดับวิธีการเดินทางที่ Gen Z เลือกใช้มากที่สุด คือ

  1. รถส่วนตัว : 48.2%
  2. รถตู้โดยสารสาธารณะ : 41.1%
  3. รถไฟฟ้า : 40.2%
  4. รถเมล์ : 28.6%
  5. มอเตอร์ไซค์รับจ้าง (วิน) : 22.3%
ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อของขวัญ

34.8% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อของขวัญ 1 ชิ้น เป็นเงินประมาณ 500 -1,000 บาท

ผู้ตอบแบบสอบถาม 34.8% หรือ 39 คน ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อของขวัญ 1 ชิ้น เป็นเงินประมาณ 500 -1,000 บาท ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบมีคนรัก 34 คน มีคนคุย 4 คน และความสัมพันธ์ซับซ้อน 1 คน ขณะที่ 21.4% มีค่าใช้จ่ายในการซื้อของขวัญ 1 ชิ้น เป็นเงินต่ำกว่า 500 บาท รองลงมาคือ 11.6% ไม่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างของขวัญ (ที่แพงที่สุด) ที่ Gen Z มอบให้คู่ของตน

  1. คนรัก
    • สร้อยคอทองคำ ราคา 30,000 บาท
    • สินค้ายี่ห้อ YSL ราคา 15,000 บาท
  2. คนคุย
    • น้ำหอม ราคา 2,850 บาท
    • รองเท้า ราคา 2,000 บาท
  3. ความสัมพันธ์ซับซ้อน
    • น้ำหอม ราคา 1,500 บาท
    • เครื่องเล่นซีดีเพลง ราคา 1,400 บาท
  4. FWB
    • Sex toy เกรดการแพทย์ ไม่ระบุราคา
  5. ONS
    • AirPods ราคา 3,000-4,000 บาท
7 หมวดของขวัญที่ Gen Z นิยมมอบให้คู่ของตน

จากคำถาม ‘กรุณายกตัวอย่างของขวัญที่คุณมอบให้คนในความสัมพันธ์’ ซึ่งผู้ตอบสามารถระบุได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดจำนวนตัวอย่าง ได้คำตอบทั้งหมด 206 ตัวอย่าง สามารถนำมาแบ่งเป็นหมวดของขวัญที่Gen Z นิยมมอบให้คู่ของตนได้ 7 หมวด โดยหมวดที่นิยมให้เป็นของขวัญมากที่สุดคือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 31.1% หรือ 64 ชิ้น รองลงมาคือ เครื่องประดับ สกินแคร์ น้ำหอม 21.8% หรือ 45 ชิ้น ของกิน ขนม 14.1% หรือ 29 ชิ้น ของเล่น ตุ๊กตา 8.3% หรือ 17 ชิ้น ต้นไม้ ดอกไม้ 5.8% หรือ 12 ชิ้น ของทำมือ และอุปกรณ์ไอที จำนวนเท่ากันอย่างละ 5.3% หรือ 11 ชิ้น อื่น ๆ 8.3% หรือ 17 ชิ้น

นอกจากนี้ ในคำถาม ‘ของที่แปลกที่สุดที่คุณเคยได้รับจากคนในความสัมพันธ์คืออะไร’ ยังพบของขวัญที่น่าสนใจที่ Gen Z เลือกมอบให้คนในความสัมพันธ์อีกด้วย เช่น สไลม์, สะดึง, ลูกหิน, กระเป๋าหน้าหมา, สร้อยรูปปลา 2 ตัวจุ๊บกัน, เจลหล่อลื่นและถุงยาง 30 ชิ้น ไปจนถึง ซุปประจำตระกูลที่คุณป้าเป็นคนทำ แล้วบอกว่าคุณป้าทำไม่ค่อยอร่อย

ของที่มีประโยชน์/ไร้ประโยชน์ในความสัมพันธ์

เมื่อถามถึง ‘ของที่ซื้อมาแล้วมีประโยชน์กับคุณและคนในความสัมพันธ์มากที่สุด’ มีผู้ระบุตัวอย่างของมาทั้งหมด 98 ชิ้น สามารถนำมาแบ่งเป็นหมวดของที่มีประโยชน์ในความสัมพันธ์ได้ 9 หมวด โดยหมวดที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ ถุงยางอนามัย เจลหล่อลื่น อุปกรณ์ทางเพศ 20.4% หรือ 20 ชิ้น สำหรับหมวดอื่น ๆ สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 

  1. ถุงยางอนามัย เจลหล่อลื่น อุปกรณ์ทางเพศ : 20.4% 
  2. อุปกรณ์เครื่องครัว ของใช้ในหอพัก : 17.3%
  3. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย : 13.3%
  4. อุปกรณ์ไอที : 12.2%
  5. ของกิน ขนม : 10.2%
  6. เครื่องประดับ : 8.2%
  7. ของสำหรับงานอดิเรก เช่น แผ่นเสียง กล้องฟิล์ม : 6.1%
  8. ตุ๊กตา สัตว์เลี้ยง : 5.1%
  9. อื่น ๆ : 7.1% 

ในด้าน ‘ของที่ซื้อมาแล้วไร้ประโยชน์กับคุณและคนในความสัมพันธ์มากที่สุด’ มีผู้ระบุตัวอย่างของทั้งหมด 55 ชิ้น สามารถนำมาแบ่งเป็นหมวดของที่ไร้ประโยชน์ในความสัมพันธ์ได้ 8 หมวด โดยหมวดที่ไร้ประโยชน์มากที่สุดคือ ตุ๊กตา 23.6% หรือ 13 ชิ้น และหมวดอื่น ๆ สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 

  1. ตุ๊กตา : 23.6%
  2. ดอกไม้ : 21.8%
  3. เครื่องครัว ของใช้ในหอพัก : 16.4%
  4. เครื่องประดับ : 10.9%
  5. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย : 7.3%
  6. ของกิน ขนม : 7.3%
  7. อุปกรณ์ไอที : 7.3%
  8. อื่น ๆ : 5.5%

นอกจากนี้ ยังมีความเห็นส่วนหนึ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามระบุเข้ามา เช่น ‘ของทุกอย่างเราว่ามีค่ากับความทรงจำทั้งหมด ถึงจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ก็ตาม’ และ ‘นึกดูแล้วก็ไม่มี เพราะว่าต่อให้มันมีไว้แค่ตั้งโชว์เฉย ๆ (เช่นพวงกุญแจหรือฟิกเกอร์) ก็มีความทรงจำซ่อนอยู่ในของพวกนั้นแทบทั้งนั้น สุดท้ายมันก็จะมีประโยชน์ มีคุณค่าทางจิตใจอยู่ดี’

ทั้งนี้ จากระยะเวลาการเก็บข้อมูลที่จำกัดและการกระจายของแบบสอบถามที่อยู่ในวงแคบ จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการมีความรักนั้นสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในความสัมพันธ์ของ Gen Z ส่วนมากหรือไม่ แต่การเก็บข้อมูลครั้งนี้ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนภาพของ Gen Z บางส่วนได้ว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างไรบ้างเมื่ออยู่ในความสัมพันธ์

แล้วคุณล่ะ เสียเงินไปกับอะไรบ้างในความสัมพันธ์ ร่วมแชร์ประสบการณ์ค่าใช้จ่ายจากการมีความรัก ฉบับ Gen Z ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Varasarnpress

ความรู้สึกของคุณหลังอ่านบทความนี้เป็นอย่างไร ?

Like ถูกใจ
3
Love รักเลย
4
Haha ตลก
0
Sad เศร้า
0
Angry โกรธ
0

Comments are closed.

More in:Lifestyle

Lifestyle

Office Syndrome: ผลเสียจากการเรียนออนไลน์ที่ยังแก้ไม่หาย พร้อม 5 วิธีคลายเมื่อยสำหรับชาวมธ.

เรื่อง : ฌัชฌา สรนันท์ ภาพ : ปาณิสรา ช้างพลาย โรงอาหารที่มีคนต่อแถวเรียงราย หอสมุดที่เต็มไปด้วยนักศึกษามานั่งติวหนังสือ และบรรยากาศในห้องเรียนที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทุกอย่างกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว หลังจากเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนมหาวิทยาลัยต้องประกาศให้นักศึกษาและอาจารย์ทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์อยู่ที่บ้านนานถึง 2 ปี  เชื่อว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาเองต่างก็ได้รับผลกระทบจากการเพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไอแพด หรือสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานาน ...

Lifestyle

เบื้องหลังความเชื่อ และคำทำนาย: บันทึกลับฉบับ เด็ก Gen Z

เรื่องและภาพประกอบ : ปาณิสรา ช้างพลาย Varasarnpress ชวนคุณมาเปิดบันทึกลับ ฉบับ Gen Z ถึงมุมมองที่มีต่อการ “ดูดวง” ว่าเบื้องหลังความเชื่อ และคำทำนายต่าง ๆ นั้น อะไรคือสิ่งที่ทำให้การดูดวงเป็นที่นิยมในหมู่ Gen Z ตั้งแต่วัยมัธยม ...

Lifestyle

ความสัมพันธ์แบบ ‘ไม่ผูกมัด’ ของคนรุ่นใหม่ กับการค้นหาตัวเองที่ไม่ต้องใช้อิสระมาแลก

เรื่องและภาพประกอบ : ณัฐกมล สิทธิวงศ์ ‘รู้ไหม ฉันรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนักกับการต้องเป็นคนของใคร ฉันชอบอยู่ตัวคนเดียว ความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และผู้คนก็เจ็บปวดเพราะมัน ใครล่ะจะต้องการ พวกเรายังเด็กอยู่เลย ใช้ชีวิตให้สนุกเท่าที่ยังมีโอกาส แล้วค่อยคิดถึงเรื่องจริงจังทีหลังดีกว่า’ นั่นคือสิ่งที่ Summer Finn ตัวละครหญิงจากภาพยนตร์เรื่อง 500 ...

Lifestyle

เมื่อชีวิตไม่ได้สมบูรณ์แบบ

เรื่อง ชนิสรา หน่ายมี ภาพ นิชดา พูลเพชร “ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ได้สมบูรณ์แบบ” หากพูดถึงความผิดพลาด หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี และเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามนุษย์ทุกคนต้องเคยทำสิ่งที่ผิดพลาด และมีแต่มนุษย์นี่แหละที่แบกความคาดหวังไว้บนบ่า พร้อมคิดว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบจนทำให้เกิดความทุกข์เมื่อสิ่งที่คาดหวังไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจ ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ ความผิดพลาดอาจจะเกิดจากความคิด ...

Writings

เมื่อภาพยนตร์ถูกจำกัด : Censorship ควรมีอยู่หรือทิ้งไป?

วารสารเพรสขอชวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการและกฎเกณฑ์การพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ในประเทศไทย รวมถึงภาพรวมและผลกระทบในวงการภาพยนตร์ไทย ผ่านมุมมองของคุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

Writings

ทำไมเราต้องปฏิบัติต่อ ‘ก้อนหิน’ อย่างมีจริยธรรม ?

“ทำไมเราต้องปฏิบัติต่อก้อนหินอย่างมีจริยธรรม?” บางคนอาจคิดว่าคำถามนี้ดูคลับคล้ายคลับคลาว่าจะมีคำตอบ เหมือนจะรู้คำตอบ แต่ไม่รู้ว่าจะอธิบายออกมาเป็นคำพูดอย่างไร ส่วนบางคนอาจหาคำตอบไม่ได้ เพราะคุ้นเคยว่าจริยธรรมเป็นเรื่องของการปฏิบัติระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรืออย่างดีที่สุดก็มนุษย์กับสัตว์ (?)

0 %

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics

    คุ้กกี้ที่เราเก็บไป จะนำไปใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์การอ่านบทความ/ข่าวภายในเว็บไซต์เท่านั้น จะไม่มีการนำข้อมูลผู้ใช้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

Save